Page 109 - 30423_Fulltext
P. 109

103



                       ซึ่งในปัจจุบันองค์กรกีฬาอาชีพเหล่านี้แปลงสภาพเป็นบริษัท และบริหารจัดการโดยส านัก

                                   80
                       นายกรัฐมนตรี
                              นอกจากนี้ ยังมีกระทรวงอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการกีฬาด้วย เช่น กระทรวงเศรษฐกิจ

                       การค้า และอุตสาหกรรม ก ากับดูแลอุตสาหกรรมการบริการต้านสุขภาพ เช่น ฟิตเนส อุตสาหกรรม
                       สันทนาการ เช่น สนามกอล์ฟ ลานโบว์ลิ่ง สามเล่นสกี อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและอุปกรณ์ด้าน

                       กีฬาต่างๆ กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ก ากับดูแลการให้บริการต่างๆ เช่น ธุรกิจ

                       ส่งเสริมสุขภาพในเขตเทศบาล การดูแลสุขภาพระยะยาว เทศกาลสุขภาพและสวัสดิการแห่งชาติ
                       ส าหรับผู้สูงอายุ กระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค การขนส่ง และการท่องเที่ยว มีหน้าที่บ ารุงรักษา

                       ทรัพยากรกายภาพด้านกีฬา เช่น สวนสาธารณะอเนกประสงค์ที่ใช้ในเทศกาลกีฬาแห่งชาติ และการ

                       ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการการกีฬาในประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวข้องกับ
                       กระทรวงและหน่วยงานจ านวนมาก รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็คาดหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการกีฬา

                       โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาครอบคลุมในหลายด้าน ประกอบกับกฎหมายพื้นฐานว่าด้วยการกีฬา

                       ของญี่ปุ่นในมาตรา 2 ก็ได้ก าหนดรูปแบบของการบริหารจัดการองค์กรเพื่อส่งเสริมมาตรการ
                       เกี่ยวกับการกีฬาเอาไว้ครอบคลุมทุกด้าน นอกจากนี้ ในปี 2013 เมืองโตเกียว ได้รับเลือกให้เป็น

                       เจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปี 2020 จากเหตุที่กล่าวมาจึงเป็นเงื่อนไข

                       ที่ดีในการจัดตั้งส านักงานสนับสนุนการกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้นในเดือนตุลาคม 2015
                                                                                               81
                              3.3.2.1 สำนักงานสนับสนุนการกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Sports Agency)


                              ส านักงานสนับสนุนการกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Sports Agency) จัดตั้งขึ้นโดยการ
                       ขยายส านักกีฬาและเยาวชน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม การกีฬา วิทยาศาสตร์ และ

                       เทคโนโลยี และแยกออกไปเป็นหน่วยงานอิสระ โดยจากเดิมมีหน่วยงานภายใน 4 กอง ขยายเป็น 7
                       กอง ดังภาพที่ 7 จ านวนบุคลากรจากเดิม 76 คน ขยายเป็น 121 คน ในจ านวนนี้ 23 คน ถูกส่งมา

                       จากกระทรวงและหน่วยงานอื่นๆ ให้มาปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ส าหรับหน่วยงานภายใต้

                       ส านักงานสนับสนุนการกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Sports Agency) มีทั้งหมด 7 กอง คือ กอง
                       นโยบาย กองกีฬาและสุขภาพ กองกีฬาเพื่อการแข่งขัน กองวิเทศสัมพันธ์ กองกีฬาโอลิมปิกและ

                       พาราลิมปิก กองพัฒนาชุมชน กองสนับสนุนองค์กรกีฬาและความร่วมมือภาคเอกชน โดยส านักงาน

                       สนับสนุนการกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Sports Agency) ถูกวางบทบาทในลักษณะของการ
                       ประสานนโยบายระหว่างกระทรวงต่างๆ ให้ส าเร็จ









                       80  Ibid., 5-6.
                       81  Ibid., 6.
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114