Page 246 - 30422_Fulltext
P. 246

| 237

                  อาญาความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือใส่ความผู้อื่น และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับ

                  คอมพิวเตอร์

                         ประเด็นด้านข้อมูล ผู้ด าเนินรายการพอดแคสต์ ควรมีการตรวจสอบข้อมูลเนื้อหารายการก่อนท าการ

                  เผยแพร่พอดแคสต์ ทั้งนี้ การตรวจสอบข้อมูล สามารถท าได้ทั้งในช่วงก่อนการด าเนินการอัดรายการพอดแคสต์

                  (ช่วง production) เพื่อป้องกันการผิดพลาดก่อนการด าเนินรายการ และช่วงหลังจากการอัดรายการ
                  พอดแคสต์เสร็จสิ้นแล้ว (post-production) โดยเมื่อพบข้อผิดพลาดหลังจากการบันทึกเสียง ผู้ด าเนินรายการ

                  สามารถเพิ่มเนื้อหาข้อมูลที่ถูกต้องและท าการลบข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงออก ทั้งนี้ การตรวจสอบข้อมูล

                  จะท าให้ลดปัญหาของข่าวปลอมที่ส่งผลเชิงลบต่อความน่าเชื่อถือของรายการพอดแคสต์

                         ประเด็นด้านจริยธรรมสื่อ การด าเนินรายการพอดแคสต์ มีข้อควรระวังในประเด็นด้านจริยธรรม

                  ของสื่อ ทั้งนี้ เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในกรณีที่ผู้ด าเนินรายการสัมภาษณ์หรือได้รับข้อมูลระดับปฐมภูมิ

                  ควรมีการตรวจสอบเนื้อหาของข้อมูลว่าประเด็นใดในการสัมภาษณ์ที่อาจมีการละเมิดจริยธรรมของ
                  ผู้ให้สัมภาษณ์ บุคคลที่สาม หรือกลุ่มบุคคล ยกตัวอย่างเช่น กรณีของการสัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีทัศนคติ

                  ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่เผยแพร่ควรหลีกเลี่ยงการให้สัมภาษณ์ที่มีเนื้อหาในประเด็นการดูหมิ่น

                  เหยียดหยามบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง นอกจากประเด็นการสัมภาษณ์หรือ
                  ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้รับมา วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลไม่ควรเป็นข้อมูลที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หากพิจารณาจาก

                  กฎหมายในสหราชอาณาจักร กรณีที่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้น รวมไปถึงในกรณีของการ

                  สะกดรอยตาม การดักฟังทางโทรศัพท์ การเข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต (Channel4, n.d.)

                         ประเด็นเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย จากกรณีตัวอย่างของรายการ

                  พอดแคสต์ Naneun Ggomsuda ที่น าเสนอประเด็นทางการเมืองในประเทศเกาหลีใต้ พบว่า การน าเสนอ

                  เนื้อหารายการพอดแคสต์ประเภทการเมืองมีส่วนในการสร้างคลื่นความสนใจทางการเมืองให้เกิดขึ้น
                  ภายในประเทศ ซึ่งอาจสะท้อนออกมาในรูปแบบของผลการเลือกตั้ง การสนับสนุนหรือต่อต้านพรรคการเมือง

                  และนักการเมือง ข้อเสนอแนะส าหรับรายการพอดแคสต์ทางการเมืองภาคภาษาไทย คือ การวางมาตรฐาน

                  ในการน าเสนอเนื้อหาภายในรายการ มีการน าเสนอต่อผู้ฟังรายการอย่างชัดเจนว่าประเด็นไหนคือข้อเท็จจริง
                  และประเด็นใดคือความคิดเห็นของผู้ด าเนินรายการ เพื่อให้ผู้ฟังรายการได้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ

                  เกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับ


                  ดิสรัปในดิสรัป: จากพอดแคสต์สู่ Clubhouse

                         ปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ถือเป็นจุดต้นก าเนิดของการขยายการใช้งานพอดแคสต์เพื่อประโยชน์

                  ทางการสื่อสารทางความคิดในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 2 ปีให้หลัง (พ.ศ. 2549) พอดแคสต์
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251