Page 245 - 30422_Fulltext
P. 245
| 236
ความผิดพลาดเชิงเทคนิคที่ท าให้ไม่ปรากฏคะแนน การได้คะแนน 5 ดาวเต็มทั้งสองรายการ แสดงให้เห็นถึง
ลักษณะของผู้ฟังรายการที่สามารถอนุมานได้ว่า เป็นผู้ที่สนับสนุนหรือมีแนวความคิดที่เห็นด้วยกับผู้ด าเนิน
รายการอยู่แล้วถึงเลือกเข้าฟังรายการพอดแคสต์ หรือถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของรายการก็ไม่ได้
มีแนวความคิดที่ต่อต้านรายการ เพราะไม่มีรายการใดที่ได้รับคะแนน 1-3 ดาวเกินร้อยละ 5 จากผู้ให้คะแนน
ทั้งหมด ดังนั้น ผู้ฟังรายการช่อง The Progressive Podcast ถือเป็นผู้ที่มีแนวโน้มในการสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่
คณะก้าวหน้า และพรรคก้าวไกล และรายการไม่ได้มีส่วนท าให้ทัศนคติทางการเมืองของผู้ฟังเปลี่ยนแปลง
ไปจากเดิม แต่เป็นการย้ าแนวความคิดทางการเมืองของผู้ฟัง เสมือนการรับฟังรายการเพราะมีแนวโน้ม
ที่จะชอบฟังประเด็นเรื่องการเมืองและอยากได้ยินเนื้อหาการวิพากษ์การเมืองที่เป็นไปในแนวทางที่ผู้ฟัง
สนับสนุนอยู่แต่เดิม ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ไปตรงกับงานวิจัยของ Lazarsfeld, Berelson, & Gaudet (1960;
1968) ที่ระบุว่า สื่อโทรทัศน์ไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนการตัดสินใจของประชาชนในการไปเลือกตั้งประธานาธิบดี
อย่างมีนัยส าคัญ (Lazarsfeld, Berelson, & Gaudet, 1968 as cited in Pensute, 2015, p. 273-274;
Lazarsfeld, Berelson, & Gaudet, 1960 as cited in Rogers, 2004, p. 5-6)
จากผลสรุปของทัศนคติทางการเมืองของผู้ฟังรายการพอดแคสต์ สรุปได้ว่า พอดแคสต์ไม่ใช่เครื่องมือ
ในการสื่อสารทางการเมืองที่จะท าให้ผู้ฟังรายการเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อแนวความคิดทางการเมือง อย่างไรก็ตาม
จากผลการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ฟังรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย พบว่า ผู้ฟังคิดว่าการฟังพอดแคสต์
และการฟังรายการข่าวการเมือง มีผลต่อการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับมาก-มากที่สุด
และคิดว่าการฟังรายการพอดแคสต์และรายการข่าวด้านการเมืองช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในประชาธิปไตย
มากขึ้นในระดับมาก-มากที่สุด เมื่อน าประเด็นจากการวิเคราะห์ทัศนคติของผู้ฟังรายการวิเคราะห์ร่วมกับ
แบบสอบถาม พบว่า การฟังรายการพอดแคสต์มีส่วนช่วยกระตุ้นให้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเป็นการ
มีส่วนร่วมในประเด็นที่ตนเองเห็นด้วยอยู่แล้วหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองร่วมกับองค์กรทางการเมือง –
พรรคการเมืองที่ตนเองสนับสนุนอยู่แต่เดิม
ข้อเสนอแนะส าหรับการท าพอดแคสต์เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องประชาธิปไตย
ในประเทศไทย
ส าหรับข้อเสนอแนะในกรณีการท าพอดแคสต์เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่อง
ประชาธิปไตยในประเทศไทย ประกอบไปด้วยประเด็นดังต่อไปนี้
ประเด็นด้านกฎหมาย พอดแคสต์เป็นสื่อกลางที่เผยแพร่สู่สาธารณชน ผู้ด าเนินรายการพอดแคสต์
ควรใช้วิจารณญาณในการน าเสนอเนื้อหารายการพอดแคสต์ในรูปแบบที่ไม่ละเมิดกฎหมาย อันได้แก่ กฎหมาย