Page 20 - b29258_Fulltext
P. 20
คำาว่า พลเมือง มาจากคำา 2 คำารวมกัน คือ “พละ” + “เมือง”
ซึ่งพละแปลว่าพละกำาลัง เมื่อนำามาบวกกับคำาว่าเมือง จึงหมายถึงผู้ที่เป็น
พละกำาลังให้แก่บ้านเมือง รวมตัวกันทำาเรื่องดี ๆ เพื่อบ้านเมือง สามารถ
พึ่งตนเองได้ ไม่ใช่เพียงผู้ที่รับคำาสั่งจากรัฐ แต่ยังหมายถึง ผู้ที่คิดริเริ่ม
รวมตัวกันทำาเรื่องดี ๆ เพื่อช่วยให้สังคมและประเทศชาติมีความเจริญ
ในฐานะ “พละกำาลังของบ้านเมือง”
ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ กล่าวว่า พลเมืองจะมี
คุณภาพได้ ประชาชนต้องพ้นจากความเป็นราษฎร สู่ความเป็นพลเมือง
(บวรศักดิ์ 2549) ประชาธิปไตยจะสมบูรณ์ได้พลเมืองจะต้องตัดสิน
ชะตากรรมของตนด้วยตนเองและเพื่อตนเอง โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมทาง
สังคมการเมืองหลายระดับ (บวรศักดิ์ 2552)
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี (2551) กล่าวว่า พลเมือง
หมายถึง คนที่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน มีอิสระ มีความรู้ มีเหตุผล
มีส่วนร่วมในกิจการของส่วนรวม หรือกระบวนการทางนโยบาย พลเมือง
คือ หัวใจของประชาธิปไตย เมื่อในประเทศมีความเป็นพลเมืองมาก ๆ
จะเกิดโครงสร้างและจิตใจของประชาธิปไตยขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2554) กล่าวว่า พลเมือง
คือราษฎรที่นอกจากจะเสียภาษีและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว
ยังต้องมีสิทธิและบทบาททางการเมือง ไม่เพียงไปเลือกตั้งเท่านั้น เพราะ
รวมไปถึง สิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทางการเมือง พลเมือง
จึงต้องเป็นฝ่ายรุกได้ ไม่เฉื่อยเนือย และสามารถทำากิจการส่วนรวมต่าง ๆ
ร่วมกับรัฐหรือแทนรัฐได้พอสมควร
20