Page 17 - b29258_Fulltext
P. 17

PARTICIPATION



               จากหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยข้างต้น สะท้อน

        ให้เห็นความสำาคัญของ “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยได้เป็น
        อย่างดีว่า พลเมืองคือผู้ถือครองอำานาจอธิปไตยอย่างแท้จริง พวกเขาจึง
 COMPROMISE  มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการปกครองได้


        อย่างเต็มที่ภายใต้กรอบของกฎหมาย อย่างไรก็ตามด้วยหลักแห่งศักดิ์ศรี
        ความเป็นมนุษย์และการเคารพสิทธิของผู้อื่น จึงทำาให้พลเมืองในระบอบ

        นี้มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของตนและความเป็นไป
        ของเพื่อนร่วมชาติอันเนื่องมาจากการกระทำาของตน รวมไปถึงปัญหาของ

        บ้านเมือง

               พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยจึงมีบทบาททั้งการเป็นผู้น�ำและ

        ผู้ตำม ไม่ได้เป็นเพียงผู้ตามที่จะทำาหน้าที่ตามคำาสั่งหรือตามนโยบายของ
        รัฐเท่านั้น แต่สามารถริเริ่มแนวทางนโยบายต่าง ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ พลเมือง
        ในระบอบประชาธิปไตย จึงควรตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบดังกล่าว

        และไม่ปล่อยให้การบริหารประเทศชาติหรือการกำาหนดนโยบายต่าง ๆ
        เป็นหน้าที่ของนักการเมือง ผู้นำา หรือรัฐบาลเท่านั้น แต่ควรช่วยกันติดตาม

        ตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ต่อนโยบายเหล่านั้นด้วย

               เพลโต (Plato) และ อริสโตเติล (Aristotle) บิดาทางรัฐศาสตร์
        ของตะวันตก กล่าวว่า หากต้องการให้ระบบการเมืองและประเทศชาติ

        มีความมั่นคง และเอื้อประโยชน์ต่อคนในสังคมอย่างแท้จริงถ้วนหน้า
        พลเมืองจะต้องเป็นผู้ที่มีความคิด พฤติกรรม และวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับ

        ระบอบการปกครอง เพราะบทบาทที่สำาคัญของพลเมืองคือการสนับสนุน
        และคำ้าจุนการดำารงอยู่หรือความมั่นคงของรัฐ



                          หลักสูตรค่านิยมพื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย  17 17
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22