Page 9 - b28783_Fulltext
P. 9
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัย เรื่อง
การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น
ต่อภาวะโรคระบาด COVID 19
เมื่อเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดใหญ่ (Pandemic)
ไปทั่วโลก (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, 11 มีนาคม 2563) รัฐบาลไทยประกาศข้อก าหนดแห่งพระ
ราชก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร ห้าม
ประชาชนเข้าไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563
และต่อมามีการสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกับการด าเนินชีวิตของประชาชน ได้ส่งผลกระทบทุกมิติ
ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นวงกว้างอย่างชัดเจน ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาจากภาครัฐที่จะ
โอบอุ้มผู้ได้รับผลกระทบในขณะนี้รองรับแรงงานนอกระบบเพียงแค่ 3 ล้านคนเท่านั้น และเมื่อวันที่ 24
มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
(COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2
อย่างไรก็ตามแรงงานที่ได้รับผลระทบจากการปิดกิจการ 22 วัน ตั้งแต่ 22 มี.ค.-12 เม.ย.ที่ผ่านมา
และนายจ้างให้หยุดงานชั่วคราว ส่วนใหญ่เลือกที่จะกลับบ้าน ดังนั้นจึงบ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงของผลกระทบการ
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะไม่จ ากัดเฉพาะพื้นที่เมืองแต่ยังต่อเนื่องไปยังชุมชนใน
ชนบทซึ่งเป็นภูมิล าเนาของแรงงานในเมืองด้วย ดังนั้นการประเมินผลกระทบและการปรับตัวของชุมชน
ท้องถิ่นต่อภาวะโรคโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงไม่สามารถจ ากัดเฉพาะในพื้นที่เมืองได้เท่านั้น สถาบันชุมชน
ท้องถิ่นพัฒนาจึงได้ร่วมกับ มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัยและรศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท าการศึกษาเรื่อง การ
ประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น ต่อภาวะโรคระบาด COVID 19 เพื่อให้
เกิดความเข้าใจต่อผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ของประเทศ รับทราบถึงประสิทธิผล
ของการเยียวยาจากมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐก าลังด าเนินการในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางการปรับตัวของชุมชน
ท้องถิ่นที่มีความยั่งยืนและแก้ไขปัญหาพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริงอีกด้วย
ผลการศึกษาเชิงการศึกษาเชิงปริมาณ จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม จ านวนประมาณ 1,002 ชุด
ระหว่างวันที่ 17-26 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐใช้มาตรการ lock down ครอบคลุมชุมชนเกษตรกรรม
15 จังหวัด 5 ภูมิภาค พบว่า ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยมีความยืดหยุ่นสูง (resilience) มีความหลากหลาย มี
การผลิตและแหล่งรายได้ที่หลากหลายเพื่อประคองชีวิตทางเศรษฐกิจในยามวิกฤติได้ การผลิตพืชหลักหรือพืช
พาณิชย์และไม้ผลที่ได้รับผลกระทบ แต่ผลกระทบก็เกิดขึ้นกับพืชผักและผลไม้บางชนิดที่รุนแรงเท่านั้น ในขณะ
ที่มีแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมกลับบ้านจ านวนไม่มากนัก (ร้อยละ 4.1) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รายได้ในมิติ
ดังกล่าวนี้ไม่ได้หดหายไปอย่างสิ้นเชิง สมาชิกครัวเรือนเหล่านี้ยังมีรายได้พอประมาณและเห็นโอกาสที่จะหา
รายได้จากนอกภาคเกษตรกรรมดังกล่าวนี้
ผลกระทบด้านอาหารการกินอยู่ ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในมิติ
ด้านอาหารการกินมากนัก เนื่องจากยังพออาศัยแหล่งอาหารจากแปลงการผลิตของครัวเรือน แหล่งอาหารจาก
vi