Page 69 - kpi8470
P. 69
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
ประสบกับปัญหาน้ำท่วมทุกปี เนื่องด้วยเป็นเมืองที่มีสายน้ำผ่านในตัวเมืองหลายสาย เช่น
คลองท่าเลา คลองตม และคลองท่าโหลน ประกอบกับมีการสูญเสียสภาพแวดล้อมตาม
ธรรมชาติ พื้นที่ต้นน้ำมีการรุกล้ำถางป่าเป็นพื้นที่เกษตรอย่างต่อเนื่อง การตัดถนนทำให้เกิด
การกัดเซาะพังทลายหน้าดิน ดังนั้น จึงได้มีการสำรวจพื้นที่ต้นน้ำ โดยการตั้งสมมุติฐาน
หาสาเหตุน้ำท่วมเมืองทุ่งสง ดังนี้
สภาพของลำคลองโดยทั่วไป บริเวณต้นคลองจะมีขนาดกว้างถึง 40-60
เมตร แต่เนื่องจากเมืองทุ่งสงมีการขยายตัวรวดเร็ว ประกอบกับมีการรุกลำน้ำตามธรรมชาติ
โดยชุมชน อาทิ มีการปลูกสร้างร้านอาหารบนคลอง รวมถึงลำน้ำที่มีสะพานข้ามทางรถไฟ
พาดผ่านคลองจะเริ่มมีขนาดเล็กลง โดยช่วงปลายคลองมีความกว้างลดลงมีขนาดเพียง 4-6
เมตร อีกทั้งสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่งถูกปิดกั้นด้วยสิ่งก่อสร้างร่องน้ำหลายแห่งตื้นเขิน
และมีขนาดแคบลงและร่องน้ำสำคัญ ถูกถมดินและก่อสร้างอาคารปิดลำคลอง ประกอบกับมี
การขยายถนนทำให้คลองมีขนาดแคบลง สะพานเดิมถูกรื้อถอนและแทนที่ด้วยท่อลอดขนาด
เล็ก บางแห่งแทนด้วยท่อลอดเหลี่ยมด้านบนเป็นลานกิจกรรม มีผลกระทบให้ระบบระบาย
น้ำเสื่อมโทรม ขาดการดูแลรักษาโครงข่ายระบบน้ำ จำเป็นต้องปรับปรุงระบบป้องกันน้ำท่วม
เมืองทุ่งสง และระบบคลองในเมืองทุ่งสงจำเป็นต้องขุดลอกทุกปี
หลังจากที่สำรวจพื้นที่ต้นน้ำจนมาถึงปลายน้ำ และทราบถึงปัจจัยต่างๆ
ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมแล้ว ก็จะทำการระบุพื้นที่เสี่ยงภัยลงในแผนที่เมือง
สถาบันพระปกเกล้า