Page 66 - kpi8470
P. 66
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
0
หลังจากโครงการนำร่องได้ดำเนินงานมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ได้มีกรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่นได้นำคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา และพนักงานขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นไปศึกษาดูงานด้านความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ประเทศญี่ปุ่น
โดยได้รับการสนับสนุนจากไจก้า โดยการศึกษาดูงานดังกล่าวใช้ระยะเวลา 15 วัน และมีการ
ศึกษาดูงานแล้วจำนวนทั้งสิ้น 2 รุ่น โดยจะศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการในการบริหาร
จัดการสหการภาค หลังจากนั้นคณะศึกษาดูงานจะประชุมระดมสมองร่วมกันเพื่อให้ได้ผล
สรุปว่า ในการดำเนินงานด้านความร่วมมทอระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศ
ไทยนั้น มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานอย่างไร และควรมีวิธีการแก้ไขอย่างไร รวม
ถึงการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของประเทศไทยได้
อย่างไร
การดำเนินงานโครงการนำร่องในระยะนี้จะมีเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไจก้า ร่วมดำเนินงานในทุกๆ ขั้นตอน ซึ่งคณะวิจัยจะ
ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาผลกระทบ ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ จากการดำเนินงาน
ด้านความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรูปแบบและวิธีการที่ได้จากผลการ
ศึกษาในระยะแรก พร้อมทั้งเสนอแนะรูปแบบความร่วมมืออื่นๆ ที่จะมีประโยชน์สำหรับการ
จัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจะจัดพิมพ์เป็นร่างคู่มือการดำเนิน
งานเล่มที่ 2 เพื่อเผยแพร่ต่อไป โดยเนื้อหาภายในเล่มจะอธิบายเกี่ยวกับผลกระทบ ปัญหา
และอุปสรรคต่างๆ จากการจัดความร่วมมือในรูปแบบดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอแนะรูปแบบ
ความร่วมมืออื่นๆ ที่จะมีประโยชน์สำหรับการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
ในการดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีความประสงค์ที่จะดำเนินงาน ก็สามารถดำเนินการได้โดย
มีวิธีการและแนวทางปฏิบัติที่สามารถศึกษาได้จาก “ร่างคู่มือความร่วมมือระหว่างองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น” ที่ได้กล่าวไปแล้ว
สถาบันพระปกเกล้า