Page 88 - kpi23819
P. 88
87
เผด็จการทหาร ขณะที่บริบทการเมืองโลกอยู่ในภาวะสงครามเย็นที่เปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพล
ในไทยเพื่อป้องกันภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ ขณะที่การเมืองในระดับบนที่ปิดกั้นการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชน แต่การเมืองระดับล่างอันเป็นการเมืองภาคประชาชนกลับตื่นตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ
ดังที่ปรากฏในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ.2516 ที่เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยอีกครั้ง บริบทการเมือง
ระหว่างประเทศล้วนแล้วส่งผลต่อการเมืองภายในของไทย รวมไปถึงการค้าและการเศรษฐกิจ กระทั่งเมื่อถึง
กลางทศวรรษ 2530 ได้เกิดเหตุการณ์ส�าคัญทางการเมืองคือ “พฤษภาทมิฬ” และหลังจากเหตุการณ์นี้ได้เกิด
กระแสปฏิรูปการเมือง และการเติบโตของภาคประชาสังคมขึ้นอย่างกว้างขวาง การน�าเสนอเนื้อหาได้ใช้วิธีการ
ใช้สื่อวีดิทัศน์ที่น่าสนใจ และวัตถุจ�าลองจากเหตุการณ์จริง
ส่วนที่ 5 กำรเมืองเชิงนโยบำย ประชำธิปไตยแบบมวลชน น�าเสนอผลจากกระแสการปฏิรูปทาง
การเมืองน�าไปสู่การจัดท�าร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองในทศวรรษก่อนหน้า
โดยใช้เครื่องมือส�าคัญหลัก คือ รัฐธรรมนูญ เพื่อก�าหนดหลักการ แนวทางและกลไกส�าคัญในการจัดระบบของ
ประเทศ หรือที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญนิยม” กระทั่งเกิดเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 ที่เรียกกันต่อมาว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ที่กลายมาเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญฉบับถัดมา
และได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยอย่างขนานใหญ่ และสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความขัดแย้ง
ทางการเมือง ที่มีการแสดงออกทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ กระทั่งในปัจจุบันได้ก้าวมาถึง “ประชาธิปไตย
ในยุคดิจิทัล” ผ่านการใช้วัตถุจัดแสดง สื่อมัลติมีเดีย และสื่อวีดิทัศน์
ส่วนที่ 6 ก้ำวสู่อนำคต ประชำธิปไตย พื้นที่สะท้อนความคิดเห็นของผู้เข้าชม ที่มีต่อการเมือง
การปกครองของไทย หลังจากผ่านการเรียนรู้ตั้งแต่โซนที่ 1 – 5 ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดให้มีส่วนร่วมด้วยการตอบ
ค�าถามของผู้เข้าชม
ในการน�าเสนอ ได้มีการใช้รูปแบบตัวอักษร และการใช้สีในนิทรรศการเพื่อสื่อถึงอารมณ์ที่สัมพันธ์
กับรูปแบบ และเนื้อหานิทรรศการในแต่ละส่วนโดยรูปแบบตัวอักษรที่ใช้เป็นรูปแบบเดียวกับนิทรรศการ
ในระยะที่ 1 (ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3) ส�าหรับการใช้สีในนิทรรศการ ใช้สีไทยโทน (Thai tone) เพื่อสื่อถึงนิทรรศการ
8
ในแต่ละส่วน เช่น ส่วนที่ 2 ก่อร่างสร้างรัฐ ใช้โทนสีน�้าตาล แล้วจึงใช้สีที่สดใสขึ้นในส่วนต่อ ๆ มา ยิ่งใกล้
ช่วงเวลาปัจจุบัน สีในนิทรรศการก็จะยิ่งสดใสมากขึ้น จากนั้นได้น�าสีที่ก�าหนดมาผลิตเป็นงานกราฟิก ท�าการ
เทียบสัดส่วนว่าจะสามารถมองเห็น และอ่านได้ดีในระยะสายตาเท่าใด ข้อความ และรูปภาพควรมีขนาดเท่าใด
หรือใช้สีเข้ม สว่างเพียงใด โดยทดลองกับการตกกระทบของแสงด้วย
การจัดท�านิทรรศการจึงเป็นการน�าวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่นอกจากจะใช้แผ่นแสดง
เนื้อหา วัตถุจัดแสดง วีดิทัศน์ หรือสื่อประกอบการจัดแสดงที่ทันสมัยแล้ว ยังให้องค์ประกอบอื่น ๆ ในนิทรรศการ
มีส่วนในการกระตุ้น หรือสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้ ความเข้าใจ รู้สึก
มีส่วนร่วมในพัฒนาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
8 ชุดสีที่พัฒนามาจากสีในงานศิลปะไทยโบราณ
inside_ A4.indd 87 1/11/2566 13:30:52