Page 87 - kpi23819
P. 87
86 จดหมายเหตุศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
ที่ล้วนแล้วส่งผลต่อพัฒนาการทางการเมืองของไทย เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นเส้นทางของพัฒนาการทางการเมือง
ของไทย และเข้าใจถึงสาเหตุและข้อเท็จจริงของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยได้แบ่งการเล่า
เนื้อหานิทรรศการไว้ดังนี้
โซนที่ 1 เส้นทำงประชำธิปไตย จุดเริ่มต้นของการเข้าชมนิทรรศการที่เป็นการฉายภาพพัฒนาการ
ทางการเมืองการปกครองของระบอบประชาธิปไตยในระยะยาว นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ที่น�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองสืบเนื่องเรื่อยมา
จนถึงช่วงเวลาปัจจุบัน อันเป็นการสะท้อนพัฒนาการทางการเมืองการปกครองผ่านการใช้สื่อวีดิทัศน์ ผสาน
เข้ากับการน�าเสนอภาพนิ่งในห้วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ส�าคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย
เป็นการสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ผู้เข้าชมเตรียมพร้อมเข้าสู่นิทรรศการ และสร้างการมีส่วนร่วมผ่านการชม
สื่อวีดิทัศน์ภาพรวมเนื้อหานิทรรศการ
โซนที่ 2 ก่อร่ำงสร้ำงรัฐ น�าเสนอการก่อตัวของการเปลี่ยนแปลงในสยามเริ่มต้นขึ้นเมื่อสยาม
เริ่มมีการติดต่อท�าการค้ากับโลกตะวันตก แรกเริ่มเกิดจากสนธิสัญญาเบอร์นีในสมัยรัชกาลที่ 3 และ
ในรัชสมัยถัดมาสยามก็ก้าวเข้าสู่การท�าสนธิสัญญาทางการค้ากับโลกตะวันตกด้วยการท�าสนธิสัญญาเบาว์ริง
กับอังกฤษ น�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจการเมือง และการปฏิรูปด้านการปกครองหรือที่เรียกว่า
“คอเวอนแมนต์รีฟอร์ม” พร้อมทั้งการปฏิรูปด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การเลิกทาส การสร้างสาธารณูปโภค
ให้มีความทันสมัย การปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่มีการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบอันเป็นการก่อร่างสร้างรัฐตามแบบ
ชาติตะวันตก ขณะเดียวกันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมที่เริ่มมีความต้องการ “ธรรมเนียมการปกครอง
แบบใหม่” ที่มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นผลมาจากอิทธิพลของการเปิดประเทศ ที่น�าไปสู่การน�าเข้าอุดมการณ์ทาง
การเมือง และรูปแบบการปกครองต่าง ๆ ที่เข้ามายังสยาม
โซนที่ 3 วิวัฒน์สยำม วัฒนำประชำธิปไตย น�าเสนอพัฒนาการทางการเมืองของสยามก้าวมาถึง
จุดพลิกผันครั้งใหญ่ ที่เกิดขึ้นจากการสะสมเงื่อนไขจากอดีต จนน�าไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย การสถาปนารัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครอง
ประเทศ รวมถึงการเกิดขึ้นของระบบรัฐสภา และการเมืองภายใต้การน�าของรัฐบาลคณะราษฎร ที่ต้องท�าหน้าที่
ทั้งการบริหารประเทศ และการเผยแผ่ระบอบการเมืองแบบใหม่แก่ราษฎร แต่ในห้วงเวลาดังกล่าวบริบทการเมือง
โลกก็ก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผู้น�าทางการเมืองของไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ใช้
นโยบายแบบชาตินิยมในการปกครองประเทศ กระทั่งหลังสิ้นสุดสงครามโลกการเมืองไทยได้เผชิญความวุ่นวาย
ทางการเมือง และเกิดการรัฐประหารครั้งส�าคัญในพ.ศ. 2490 ที่เป็นการผลัดเปลี่ยนอ�านาจทางการเมืองที่เคยอยู่
ในมือของกลุ่มคณะราษฎรไปสู่กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง นิทรรศการในโซนนี้มีการน�าเสนอ
เนื้อหาด้วยการจ�าลองเหตุการณ์ ร่วมกับการใช้สื่อวีดิทัศน์ และวัตถุจ�าลอง ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
ส่วนที่ 4 พลวัตประชำธิปไตยไทย พัฒนำกำรประชำธิปไตยโลก น�าเสนอเส้นทางของประชาธิปไตย
ในไทยกว่า 3 ทศวรรษ นับตั้งแต่ทศวรรษ 2500 ที่มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มชนชั้นปกครองใหม่ที่มีลักษณะเป็น
inside_ A4.indd 86 1/11/2566 13:30:52