Page 82 - kpi23788
P. 82
Conflict Mapping Thailand phase 5
72
4.2.2.3 สรุปและข้อเสนอแนะะแนวทางการแก้ปัญหาการเผาในที่โล่ง กรณีจังหวัดเชียงใหม่และ
เชียงราย
Conflict ฝุ่น PM 2.5 การเผาในที่แจ้ง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย หรืออาจ
หมายถึงพื้นที่อื่น ๆในประเทศไทย คือ“ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างสังคม” ที่มีมากกว่าความขัดแย้งเฉพาะตัว
ปัญหาความขัดแย้งนี้เกิดจากการด าเนินชีวิตตามวิถีชีวิตแบบที่เคยปฏิบัติกันมาในการท ามาหากินของผู้คน
ซึ่งแต่ก่อนนนี้รัฐก็ไม่เคยมองถึงปัญหานี้ จนเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การท ามาหากินตามวิถีชีวิตแบบเดิม ๆ
กลายเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นรัฐจึงจ าเป็นต้องสร้างการรับรู้ใหม่ให้แก่คนกลุ่มดังกล่าว
ตลอดจนรัฐก็ต้องมีมาตรการทางสังคม ทางกฎหมายใหม่ๆ เพื่อให้ผู้คนหรือประชาชนกลุ่มนั้นสามารถมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดี และอยู่ได้ในสังคมปัจจุบันด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้แม้อาจต้องใช้เวลา งบประมาณ แต่หากท าได้ ก็จะ
เปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม ค่านิยมหรือสิ่งอื่น ๆ ตามมาอีกไม่น้อย ดังเช่นที่รัฐเคยท าได้ในสมัยนโยบายให้เลิก
ปลูกฝิ่น หรือการท าไรเลื่อนลอย
จากสถิติพื้นที่ที่ถูกเผาในที่โล่งที่ลดลงทุกปี ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ท าเกษตร พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่
อยู่อาศัย ในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ใน 3 ลักษณะนี้ พื้นที่ที่อยู่อาศัยจะมีพัฒนาการเกิดจุดความร้อนและพื้นที่ที่ถูก
เผามากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่ท าการเกษตร และพื้นที่ป่า อาจพิจารณาง่ายๆ ว่า พื้นที่ห่างจากชุมชนอาศัย
มนุษย์เท่าใด พื้นที่นั้นก็จะเกิดปัญหาการเผาในที่โล่งมากเท่านั้น และหากจะสรุปความส าเร็จของการแก้ปัญหา
เกี่ยวกับการเผาในที่โล่งก็คงกล่าวได้ว่ามาตรการต่าง ๆ ที่รัฐใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาการเผาในที่ชุมชนนั้นถูกต้อง
และมาถูกทางแล้ว จากนี้เป็นการที่รัฐต้องด าเนินการปฏิบัติตามมาตรการที่กระท ามาแล้วอย่างสม่ าเสมอและ
ต่อเนื่อง ก็น่าจะเพียงพอต่อการควบคุมปัญหาในพื้นที่อยู่อาศัยแล้ว
แต่ส าหรับการเผาในพื้นที่ท าเกษตร และพื้นที่ป่าไม้แม้จะมีจ านวนพื้นที่ถูกเผาที่ลดลง แต่ก็ยัง
เป็นปัญหาที่กระทบต่อวิกฤติการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 อยู่ เนื่องจากการแก้ปัญหาในสองพื้นที่นี้ควรจะมาจาก
การแก้ปัญหาเชิงนโยบาย และการแก้ปัญหาโดยหน่วยงงานต้องมีวินัยในการปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ อย่าง
เคร่งครัด โดยรวมในการบริหารจัดการแก้ไขในสถานการณ์เมื่อเกิดการเผาในที่โล่ง ได้แก่ การค้นหาจุดที่เกิด
การเผา และการเข้าไปดับไฟ ถือได้ว่ากระบวนการท างานของรัฐปฏิบัติได้ค่อนข้างจะเร็วพอสมควร เว้นแต่มี
กรณีฉุกเฉินก็จะมีกลไกการท างานรองรับอยู่แล้ว
นอกจากนี้แล้ว การที่ภาครัฐจ าเป็นต้องท างานร่วมกับภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งในพื้นที่อย่างเป็น
เนื้อเดียวกัน เพื่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 อย่างลงลึกในพื้นที่ทั้งแนววดิ่งและแนวระนาบ เช่นในจังหวัด
เชียงใหม่ต้องท างานขับเคลื่อนกับ สภาลมหายใจเชียงใหม่ เป็นองค์กรภาคประชาสังคม จัดตั้งขึ้นมาในเดือน
กันยายน 2562 เพื่อรณรงค์และร่วมมือกับทุกภาคส่วนหาทางแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในจังหวัดเชียงใหม่ที่มี
ปัญหาต่อเนื่องยาวนานกว่า 15 ปี โดยสภาฯ มีองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น นักวิชาการ ข้าราชการ
ศิลปิน สื่อมวลชน นักการเมือง นักธุรกิจ ภาคเอกชน นักพัฒนา ตัวแทนภาคประชาชน ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนต าบล ฯลฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สังคมมีอากาศสะอาดทุกฤดูกาล ภายใต้แนวคิด
“เรามีลมหายใจเดียวกัน” (ธีรวัฒน์ รังแก้ว, 2564)
-72-