Page 94 - 22665_Fulltext
P. 94
77
โครงการราชด าริจังหวัดศรีสะเกษ และยังมีกระทรวงวิทยาศาสตร์ ส่งเจ้าหน้าที่มาฝึกอบรมและพัฒนา
ฝีมือแรงงาน จนปัจจุบันมีคนในชุมชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว 35 คน และมีการจัดการให้เป็นกลุ่ม
สมาชิกจักสานหวาย ผลิตภัณฑ์จากหวายได้รับ มาตรฐานจากอุสาหกรรมจังหวัดศรีสะเกษ เป็น
โครงการปราชญ์ชาวบ้านผลิตภัณฑ์กลุ่มจังสานหวายหมู่บ้านทับทิมสยาม 07ปัจจุบันได้รับใบ
ประกาศนียบัตรประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึกเป็นผลิตภัณฑ์ระดับสามดาว (องค์การ
บริหารส่วนต าบลบักดอง, 2564)
การต่อยอดพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์หวายมีอย่างต่อเนื่อง โดย วันที่ 10-12 กรกฎาคม
2563 โครงการทับทิมสยาม07 จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมกับ มหาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดฝึกอบรม
พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์หวาย กลุ่มอาชีพที่ก่อตั้งในชุมชนทับทิมสยาม 07 เพื่อพัฒนาฝีมือผลิตภัณฑ์
ให้ดียิ่งขึ้น โดยมีวิทยากรจาก ส านักงานเกษตรจังหวัด ส านักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด มหาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ อ าเภอขุนหาญ โดยอธิการบดี มหาวิยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิด
สมาชิกในกลุ่มมี 30 คน ผู้ชายไปตัดหวายและผ่าหวายให้ ส่วนคนสานหัตถกรรมต่าง ๆ
ก็เป็นผู้หญิงเป็นคนท า (องค์การบริหารส่วนต าบลบักดอง, 2564)
นอกจากกลุ่มจักสานที่สร้างงานสร้างรายได้แล้ว ยังมีอาชีพจากโครงการ กลุ่มไถ่ชีวิตโค
กระบือ ในการไถ่ชีวิตโคกระบือ ดังค าให้สัมภาษณ์ว่า
“ในหมู่บ้านของทับทิมสยาม 07 โดยผู้ใหญ่สายสมร ได้รวบรวมสมาชิกในการเลี้ยงโค
กระบือได้รับการสนับสนุนจากท่านเอนก บุญญากร ในการสนับสนุนรอบแรกนั้น 30 กว่าตัว
ทางกลุ่มก็จะมีระเบียบข้อบังคับให้กับชุมชนผู้ที่มีรายได้น้อย ในพื้นที่ของทับทิมสยาม 07
ล่าสุดมีเพิ่ม 10 ตัวนะครับ ตอนนี้ในกลุ่มของไถ่ชีวิตโคกระบือนั้นมีโคกระบืออยู่รวมกัน 43
ตัว ซึ่งก็เป็นโครงการที่ดีมาก สร้างรายได้ให้กับชุมชนนะครับ” (สมหมาน พาบุตร, สัมภาษณ์,
25 มกราคม 2564)