Page 17 - kpi22408
P. 17
16
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พระมหากษัตริย์
ไม่ได้ทรงเป็นผู้ใช้อำานาจดังกล่าวโดยตรง แต่เป็นการใช้ในนามประชาชน
ในฐานะองค์พระประมุขและใช้ผ่านองค์กรต่างๆ ในรูปแบบของการลง
พระปรมาภิไธย โดยมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งจะ
สอดคล้องกับความในมาตรา 182 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่บัญญัติว่า
บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับ
ราชการแผ่นดินต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ” หรืออาจมีการใช้
พระราชอำานาจอย่างอื่นตามที่รัฐธรรมนูญกำาหนด เช่น พระราชอำานาจ
ยับยั้งร่างกฎหมาย เป็นต้น
เมื่อกล่าวถึงตรงนี้ อาจสรุปได้ว่า การจัดวางความสัมพันธ์ระหว่าง
ประชาชน พระมหากษัตริย์ และองค์กรทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ
ของประเทศไทย แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยนั้นมีการจัดวางโครงสร้าง
ทางการเมืองที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
1.3 ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
1.3.1 ความหมายและลักษณะส�าคัญของประชาธิปไตยระบบ
รัฐสภา
ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา คือ รูปแบบการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยที่รัฐบาลได้รับการเลือกจากความเห็นชอบของรัฐสภา
7/2/2565 BE 16:07
inside_�������������.indd 16 7/2/2565 BE 16:07
inside_�������������.indd 16