Page 14 - kpi22408
P. 14
ความรู้เบื้องต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 13
รูปแบบการปกครองที่อาศัยหลักการประชาธิปไตยทางตรงปรากฏใน
2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกปรากฏในฐานะรูปแบบการปกครองระดับท้องถิ่น
ของบางประเทศ (เช่น สวิตเซอร์แลนด์) ในพื้นที่ที่ยังคงรักษาแบบแผน
ของการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงซึ่งมีรูปแบบใกล้เคียงกับ
ประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์เอาไว้ และลักษณะที่สองคือการอาศัย
กระบวนการริเริ่มกฎหมายและการตัดสินใจสาธารณะที่ยึดตามหลักการ
ประชาธิปไตยทางตรง เช่น การให้ประชาชนเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมาย
การให้ประชาชนเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอนตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง และ
การออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจในเรื่องสำาคัญๆ เป็นต้น
2) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democracy)
หรือประชาธิปไตยทางอ้อม (Indirect Democracy) คือ การปกครองที่
ประชาชนเลือกผู้แทนไปทำาหน้าที่ตัดสินใจทางการเมืองแทนตนในรัฐสภา
ซึ่งผู้แทนอาจมาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญ
หรือมาจากการกำาหนดโดยพรรคการเมืองหรืออาจใช้รูปแบบผสมผสานกัน
เป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในปัจจุบันโดยมีการแบ่งตัวแบบ
ในเชิงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำานาจออกเป็น 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ได้แก่
2.1) ระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) คือ
รูปแบบการปกครองที่รัฐบาลได้รับการเลือกเข้ามาจาก
ความเห็นชอบของรัฐสภา โดยประมุขแห่งรัฐอาจเป็น
พระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีก็ได้ หัวหน้าฝ่าย
บริหารคือ นายกรัฐมนตรี ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น
สหราชอาณาจักร ไทย และญี่ปุ่น
7/2/2565 BE 16:07
inside_�������������.indd 13
inside_�������������.indd 13 7/2/2565 BE 16:07