Page 48 - 22221_Fulltext
P. 48
มีรายได้ ทำให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้ มีงานทำ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน
4. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว ชุมชน และชุมชนข้างเคียง มีการดูแล
กันเองในชุมชน ไรเดอร์ผู้ส่งอาหารซึ่งเป็นคนในชุมชนช่วยดูแลผู้พิการ และผู้สูงอายุด้วย
5. เกิดนวัตกรรมทางสังคม Community Connect ต้นแบบการบริหารจัดการชุมชนในไลน์
โดยมีตัวแทนทุกครัวเรือนในชุมชนเป็นสมาชิก ทำให้ชุมชนมีความทันสมัย ปลอดภัย น่าอยู่
โครงการ “เด็กนครสุราษฎร์ฟันดีไม่มีผุ”
ปัญหาฟันผุในเด็กวัยเรียน
มีผลกระทบกับคุณภาพชีวิต
หลายอย่าง เช่น ไม่สามารถ
เคี้ยวอาหารได้ ปวดอักเสบ
นอนไม่หลับ สูญเสียพลังงานจาก
การติดเชื้อในช่องปาก การเจริญ
เ ติ บ โ ต ไ ม่ เ ต็ ม ที่ เ กิ ด ภ า ว ะ
เตี้ยแคระแกร็น ส่งผลต่อการเป็น
ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ประชาชน
ในพื้นที่จึงมีการทำประชาคม
ให้มีการการดูแลสุขภาพช่องปาก
และฟันของเด็กวัยประถมเพื่อลดภาระผู้ปกครอง อีกทั้งมีงานวิจัยการสำรวจสภาวะสุขภาพ
ช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 6 บ่งชี้สถานการณ์ฟันผุของเด็กวัยเรียน พบว่าเด็กในกลุ่มวัยเรียน
(อายุ 12 ปี) มีความชุกของการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 52.0 เฉลี่ย 1.4 ซี่ต่อคน ประกอบกับ
เด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่ฟันแท้เริ่มงอกใหม่ในช่องปากและเป็นช่วงวัยที่ผู้ปกครองเริ่มฝึกให้ดูแล
ตัวเองโดยเด็กยังทำได้ไม่ดีพอ อีกทั้งนักเรียนวัยประถมมีความเสี่ยงด้านพฤติกรรมการบริโภค
ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม ที่มีผลเสียต่อสุขภาพช่องปากสูง นอกจากนี้ความเร่งรีบในการทำมา
หากินของผู้ปกครองทำให้ไม่มีเวลาดูแลช่องปาก ช่องฟันของเด็ก หรือควบคุมดูแลให้เด็ก
แปรงฟัน และด้วยภารกิจงานทำให้ไม่มีเวลา ไม่สามารถลางานพาเด็กไปพบแพทย์
ไปเคลือบหลุมร่องฟันที่โรงพยาบาล เพื่อดูแลสุขภาพช่องปาก หรือบางครอบครัวก็ไม่มีเงินพอ
พาไปคลินิกเอกชน ผู้ปกครองและโรงเรียนได้หารือร่วมกับงานทันตกรรม สำนักสาธารณสุข
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และได้นำเสนอในที่ประชุมประชาคมเมือง จึงเกิดการริเริ่ม
โครงการ “เด็กนครสุราษฎร์ฟันดีไม่มีผุ” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
รางวัลพระปกเกล้า’ 64