Page 315 - 22221_Fulltext
P. 315
1
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น
2. เพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในท้องถิ่น
3. เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนให้ผู้เรียนแสดงออกและใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิต
ประจำวัน
4. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ
โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็ก นักเรียน ประชากรวัยเรียน ประชาชน
ในพื้นที่ โดยใช้สถานศึกษาโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน(บ้านดอนตัน)
เป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน คือนำ Program DynEd มาใช้ในการยกระดับคุณภาพ
การศึกษาโดยใช้หลักการ มีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ คือประชาชนร่วมรับรู้
มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยดำเนินการ คือ
๏ ประชุมคณะผู้บริหาร คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อร่วมกันวางแผน กำหนด ลงมือ
ปฏิบัติร่วมกัน
๏ ดำเนินการโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม การปรับภูมิทัศน์ การสร้างแหล่งเรียนรู้
บริเวณโรงเรียนและบริเวณโดยรอบ
ปรับปรุงรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา
เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายคือลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความ
เสมอภาคทางการศึกษา เพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ
การสื่อสาร สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ร่วมกันกำหนด ปรับปรุง พัฒนา สร้างแหล่ง
เรียนรู้ภายในโรงเรียนเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีบรรยากาศสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนวิชา
ภาษาอังกฤษที่หลากหลาย โดยเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวไปหาสิ่งที่อยู่ไกลตัวของผู้เรียน
เร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน เครือข่ายสถานศึกษา และชุมชน
โดยรอบโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ สอดคล้องกับ DONTUN 5s MODEL ประกอบ
ด้วย DONTUN: DynEd Organization Network Technology Needs. DynEd ชุดฝึกทักษะ
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร Program DynEd (Dynamic Education) Program DynEd
แต่ละระดับ (level) ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 หน่วยการเรียนรู้ (Unit) แต่ละหน่วยการเรียนรู้
(Unit) จะประกอบไปด้วยเนื้อหา 6 ส่วน ดังนี้
รางวัลพระปกเกล้า’ 64