Page 103 - 22221_Fulltext
P. 103
102
ความเข้าใจกับทุกภาคส่วนโดยตรง 2) สร้างแหล่งเรียนรู้ โดยถ่ายทอดความรู้จากครัวเรือน
ต้นแบบสู่ชุมชน และ 3) สร้างองค์ความรู้ตั้งแต่เยาว์วัยโดยจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด และของโรงเรียนในพื้นที่ ที่สำคัญ
องค์การบริหารส่วนตำบลแก้วแสนได้นำโปรแกรม GIS (แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน)
มาใช้เพื่อกำหนดเส้นทางการออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ จำนวน 10 หมู่บ้าน 19 โซน
144 บล็อก โดยมีการวางแผนกำลังคนแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ และให้บุคลากรในองค์กรทุกคน
คณะผู้บริหาร และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการเชิงรุกโดยลงพื้นที่
เคาะประตูบ้านเพื่อให้ความรู้ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
จากการดำเนินงานที่ภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่เข้ามาส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ส่งผลให้
ปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบลดลง โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ทั้งหมดถูกนำไปทำปุ๋ยหมักหรือ
น้ำหมักชีวภาพ คิดเป็นร้อยละ 100 ตำบลแก้วแสนกลายเป็นพื้นที่ปลอดโฟมโดยใช้วัสดุจาก
ธรรมชาติทดแทน และองค์การบริหารส่วนตำบลแก้วแสนสามารถประหยัดงบประมาณในการ
บริหารจัดการขยะ รวม 3,456,800 บาทต่อปี โดยไม่ต้องมีการตั้งงบประมาณสำหรับการจัด
ซื้อถังขยะ ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณได้ 100,000 บาทต่อปี รวมถึงประหยัดงบประมาณ
ในการจัดซื้อรถขยะได้ จำนวน 2,500,000 บาท ค่าซ่อมบำรุงรักษารถขยะ จำนวน 120,000
บาทต่อปี ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 240,000 บาทต่อปี และค่าจ้างพนักงานขับรถและ
เก็บขยะ 4 อัตรา จำนวน 496,800 บาทต่อปี ที่สำคัญ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย
ในพื้นที่ตำบลแก้วแสนจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนเพราะครัวเรือนร้อยละ 80 มีความรู้
ความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะด้วยความเต็มใจและสมัครใจ
ซึ่งเป็นการระเบิดจากข้างในหรือจากตัวครัวเรือนเองที่มีความพร้อมและความเข้มแข็ง
รางวัลพระปกเกล้า’ 64