Page 100 - 22221_Fulltext
P. 100
นอกจากนี้ ในการดำเนินงานได้มีการประยุกต์ใช้โปรแกรม GIS (แผนที่ภาษีและ
ทะเบียนทรัพย์สิน) เพื่อศึกษาข้อมูลของพื้นที่และการประกอบอาชีพของประชาชน จำนวน
10 หมู่บ้าน แบ่งออกเป็น 19 โซน 144 บล็อก และเพื่อจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับครัวเรือน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนต้นแบบ หากต้องการศึกษาข้อมูลดังกล่าว ก็สามารถเรียกดู
ข้อมูลได้จากโปรแกรม GIS ก่อนเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สถานที่จริง
ครัวเรือน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนต้นแบบทำการเกษตรแบบพอเพียงและ
ยั่งยืนได้เป็นต้นแบบใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนอาชีพโดยใช้
โปรแกรม Smart me เพื่อให้การทำบัญชีมีความถูกต้อง สะดวก และรวดเร็ว และช่วย
คำนวณรายรับ-รายจ่ายได้อย่างชัดเจน 2) การบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง
และนำขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยคอกหมัก/ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน/น้ำหมักชีวภาพและใช้ในการเกษตร
3) การปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค
จากการการดำเนินโครงการส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบทำการเกษตรแบบพอเพียงและ
ยั่งยืนได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายมิติ ได้แก่
๏ มิติด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนต้นแบบสามารถจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้เห็นถึง
สถานการณ์รายรับ-รายจ่ายของตน ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและมีวินัยทางการเงิน
มากขึ้น
๏ มิติด้านสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่มีการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ
การประกอบเกษตรกรรมที่หลากหลายมากขึ้น และการใช้น้ำหมักชีวภาพแทนสารเคมี
เป็นต้น ในส่วนของการบริหารจัดการขยะ สามารถลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้โดยทุกครัวเรือน
นำขยะอินทรีย์ไปทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือนของตน
๏ มิติด้านสุขภาพ ครัวเรือนต้นแบบมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่ใช้สารเคมี
ในการปลูกพืชผักและบริโภคผักปลอดสารพิษ ส่งผลให้จำนวนกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพลดลง
ตามข้อมูลของสาธารณสุขอำเภอนาบอน
๏ มิติด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ
การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง และโรงเรียน จำนวน 4 แห่ง นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงไปกำหนดเป็นวิชาหนึ่งในการเรียนการสอน
รางวัลพระปกเกล้า’ 64