Page 418 - kpi21298
P. 418
บทที่ 6
ผลการยืนยันความเหมาะสมของตัวชี้วัดหลักธรรมาภิบาล
(การวิจัยระยะที่ 3)
การวิจัยเรื่อง “การสร้าง Platform Good Governance Mapping ในการติดตามและ
ประเมินผลการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรในประเทศไทย” ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบ
ผสม (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยระยะที่ 3 นี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative
Research Methodology) โดยเป็นการวิจัยเพื่อยืนยันความเหมาะสมของตัวชี้วัด Platform Good
Governance Mapping ในการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ องค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และองค์กรไม่แสวงผลก าไรในประเทศไทยด้วยวิธีการ
วิเคราะห์จากหลักฐานเชิงปริมาณโดยการใช้เทคนิคทางสถิติที่เน้นการตรวจสอบความมากหรือน้อย
ของความเหมาะสมของร่างตัวชี้วัด Good Governance Mapping Platform ในการติดตามผลการ
น าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน
(ธุรกิจ) และองค์กรไม่แสวงผลก าไรในประเทศไทย ซึ่งคณะผู้วิจัยขอเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลของการ
วิจัยระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณตามล าดับดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลประเภทองค์กรของกลุ่มตัวอย่าง
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผล
การน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติจ าแนกตามองค์กรภาครัฐในประเทศไทย
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผล
การน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติจ าแนกตามองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจ าแนกตามองค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) ในประเทศไทย
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผล
การน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติจ าแนกตามองค์กรไม่แสวงผลก าไรในประเทศไทย