Page 370 - kpi21298
P. 370
ดังกล่าว มีระดับคุณภาพของตัวชี้วัดด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความสอดคล้อง และ
ด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าคะแนนการเลือกตอบ = 5)
3.9) องค์ประกอบหลักการบริหารจัดการ
จากตัวชี้วัดที่ 1-8 ได้แก่ มีแผนงานและการทบทวนภารกิจ มีการส ารวจ
ความต้องการของประชาชน มีกลยุทธ์ในการบริหาร การบริหารแบบมีส่วนร่วม การศึกษาวิจัย การ
คาดคะเนความเสี่ยง กระจายอ านาจ และการบริการประชาชน มิใช่การก ากับ ผู้ให้ข้อมูลส าคัญมี
ความเห็นว่า ตัวชี้วัดดังกล่าว มีระดับคุณภาพของตัวชี้วัดด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้าน
ความสอดคล้อง และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าคะแนนการเลือกตอบ = 5) โดยได้
ให้ข้อสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวชี้วัดว่าและค าอธิบายตัวชี้วัดว่า ชื่อตัวชี้วัดกับค าอธิบายตัวชี้วัดบางแห่ง
ยังไม่ตรงกัน เช่น ในองค์ประกอบที่ 9 ตัวชี้วัดที่ 3 มีกลยุทธ์ ในค าอธิบายตัวชี้วัดใช้ มีการปฏิบัติตามกล
ยุทธ์ ส่วนชื่อตัวชี้วัดในองค์ประกอบที่ 9 ตัวชี้วัดที่ 6 การคาดคะเนความเสี่ยงน่าจะใช้การบริหารความ
เสี่ยงให้ตรงกับค าอธิบายตัวชี้วัด
3.10) องค์ประกอบหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากตัวชี้วัดที่ 1-4 ได้แก่ มีการจัดการชุดข้อมูล มีเครือข่ายสารสนเทศ การ
เชื่อมโยงเทคโนโลยี และการน าเทคโนโลยีไปใช้จริง ผู้ให้ข้อมูลส าคัญมีความเห็นว่า ตัวชี้วัดดังกล่าว
มีระดับคุณภาพของตัวชี้วัดด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ด้านความสอดคล้อง และด้านความ
เป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าคะแนนการเลือกตอบ = 5)
ตอนที่ 2.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพของร่างตัวชี้วัด Good Governance
Mapping Platform เพื่อติดตามผลการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นในประเทศไทย
จากการเก็บรวบรวมข้อสนเทศการประเมินคุณภาพของร่างตัวชี้วัด Good
Governance Mapping Platform เพื่อติดตามผลการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยของผู้ให้ข้อมูลส าคัญกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ จากองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลในการด าเนินงานด้านธรรมาภิบาลประจ าปี 2560 ในประเทศไทย ซึ่งปรากฏ
ตามฐานข้อมูล Good Governance Digital Based จ านวน 4 คน ได้น าไปสู่การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของ
คุณภาพร่างตัวชี้วัด Good Governance Mapping Platform เพื่อติดตามผลการน าหลักธรรมาภิบาลไป
ปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ดังนี้
1) ผู้ให้ข้อมูลส าคัญคนที่ 1 (A9) ต าแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนต าบล ซึ่งจาก
การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อประเมินคุณภาพของร่างตัวชี้วัด Good Governance Mapping Platform เพื่อ
ติดตามผลการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถอธิบายข้อสนเทศที่
ได้รับโดยเรียงตามล าดับตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2) 334