Page 108 - 21211_fulltext
P. 108
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า (ต้นทุน) กับขนาดประชากร แสดงเป็น
รูปภาพ (scatter diagram) ตามภาพที่ 3.19 – 3.21 โดยที่ในภาพที่ 3.19 แกนตั้ง
หมายถึงปัจจัยนำเข้า (จำนวนพนักงานต่อประชากรพันคน) แกนนอนหมายถึงจำนวน
ประชากร 100 คน ซึ่งสะท้อนว่า เมื่อองค์กรขนาดเล็กเกินไปจำเป็นต้องใช้พนักงาน
จำนวนมาก (staffpop1000 > 20) เปรียบเทียบกับเมื่อองค์กรขนาดเหมาะสม จำนวน
staffpop1000 จะลดเหลือ 5-6 คน หมายถึง การประหยัดจากขนาด
ขณะที่ภาพที่ 3.20 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างงบบุคลากรท้องถิ่นต่อจำนวน
ประชากร 100 คน โดยที่แกนตั้งแทนงบบุคลากรท้องถิ่นต่อจำนวนประชากร
(capxstaff) ส่วนแกนนอนแทนจำนวนประชากร 100 คน (pop100) จากภาพสะท้อน
ได้ว่า เมื่อองค์กรมีขนาดเล็กจะมีงบบุคลากรต่อจำนวนประชากรที่สูงกว่า (capxstaff >
2,000) เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรขนาดเหมาะสมที่มี capxstaff < 2,000 ซึ่งหมายถึง
การประหยัดจากขนาด
และภาพที่ 3.21 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายการจัดบริการต่อ
ประชากร (capxserv) กับจำนวนประชากร 100 คน จากภาพสะท้อนได้ว่า เมื่อองค์กร
มีขนาดเล็กจะมีค่าใช้จ่ายการจัดบริการต่อประชากรที่สูงกว่า (capxserv > 5,000)
เมื่อเทียบกับองค์กรขนาดเหมาะสมที่มี capxserv < 5,000 ซึ่งหมายถึงการประหยัด
จากขนาด
จากทั้ง 3 รูปภาพ ยืนยันว่า
ค) เมื่อเทศบาล และ อบต. มีจำนวนประชากรน้อย (ประมาณ 2,000-10,000 คน)
ต้นทุนที่วัดด้วยจากจำนวนพนักงาน ค่าจ้างบุคลากร และต้นทุนการจัด
บริการต่อหน่วย จะมีแนวโน้มลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง decreasing unit
cost
ง) เมื่อเทศบาล และ อบต. จำนวนประชากร เกินกว่าประมาณ 1 หมื่นคน
ต้นทุนต่อหน่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น (increasing unit cost)
สถาบันพระปกเกล้า