Page 127 - kpi21196
P. 127
ส่วนที่ 4
การดำเนินงานของเทศบาลตำบลภูสิงห์ เป็นแนวทางการดำเนินงาน
ที่มีลักษณะของการตัดสินใจ “สวนกระแส” อย่างถูกต้อง คือ ไม่ยึดติด
กับวิธีการดำเนินงานบริหารจัดการขยะที่มีการสั่งการให้ดำเนินการจาก
ส่วนกลางที่ไม่เกิดผล แต่ยึดมั่นในเป้าหมายเดียวกัน คือ ลดปริมาณขยะ
ให้ได้ตามเป้าหมาย เทศบาลตำบลภูสิงห์ ไม่ได้ซื้อถังขยะแยกประเภท
4 สี และไม่รับมอบถังขยะจากหน่วยงานใด ไม่มีรายงานปริมาณขยะ
4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล
เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ขยะ และเป็นการจัดประเภทขยะที่ไม่ถูกต้อง และ
คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
ไม่เหมาะสมกับพื้นที่และเทคโนโลยีที่จะนำไปกำจัด ไม่รณรงค์ให้คัดแยก
หรือทิ้งลงถัง แต่สร้างความรู้ให้ทุกครัวเรือนจัดการขยะให้จบอย่าง
ปลอดภัยในครัวเรือนของตนเอง ไม่ต้องมีถังขยะในที่สาธารณะ
เมื่อทุกครัวเรือนรับทราบและนำไปสู่การปฏิบัติ ครัวเรือนที่มีผู้อาศัย
737 ครัวเรือนสามารถจัดการขยะของตนเองได้โดยไม่ต้องเผาและไม่นำไป
ทิ้งข้างทาง ถนนทุกสายในพื้นที่เทศบาลตำบลภูสิงห์สะอาดไม่มีขยะและ
ถังขยะ ประชาชนไม่เรียกร้องให้เทศบาลจัดซื้อถังขยะอีกต่อไป และเพื่อให้
เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน เทศบาลได้ออก “เทศบัญญัติ” โดย
ความเห็นพ้องกันของประชาชน ให้ดำเนินการจัดการขยะตามแนวทาง
พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง ผลการดำเนินงานส่งผลให้เทศบาลตำบล
ภูสิงห์ เป็นเทศบาลตำบลแห่งแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สะอาดและ
ปราศจากถังขยะ นอกจากกุ้งเผาอร่อยๆ แล้ว ภูสิงห์ยังสะอาดและ
ไร้ถังขยะ หากหน่วยงานท่านอยากดูการ “สวนกระแส” เพื่อจัดการขยะ
อย่างถูกต้อง เทศบาลตำบลภูสิงห์คือหนึ่งในตัวอย่างคำตอบที่รอรับทุก
คณะศึกษาดูงาน
116 สถาบันพระปกเกล้า