Page 125 - kpi21196
P. 125

ส่วนที่ 4



            เทศบาลตำบลภูสิงห์
            อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์



                  เมื่อกล่าวถึงเทศบาล
            ตำบลภูสิงห์ หลายท่านคงจะ

            นึกถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำ
            จากปลาน้ำจืด และกุ้งแม่น้ำ
            สด ๆ ตัวโต ๆ จากเขื่อน
    คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
            ลำปาว สิ่งที่ท่านกำลังนึกถึง

            เ บื้ อ ง ห ลั ง กิ จ ก ร ร ม ท า ง
            เศรษฐกิจของตำบลนี้คือการทำประมงน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว และ
            การแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำ ส่วนที่รองลงมาคือการทำการเกษตร
            ด้วยพื้นที่ 54,375 ไร่ แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน ครัวเรือนที่อยู่อาศัยจริง

            781 ครัวเรือน ขนาดประชากร 2,768 คน จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
            เดิมมีขยะที่ทิ้งในที่สาธารณะประมาณวันละ 3 ตัน หลังจากเข้าร่วม
            โครงการพลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง ไม่เหลือขยะที่ไปทิ้งในที่สาธารณะ
            และบรรลุการเป็นชุมชนไร้ถัง ในระดับเทศบาลตำบลแห่งแรกของจังหวัด

            กาฬสินธุ์

                  สังคมดั้งเดิมของเทศบาลตำบลภูสิงห์ ใช้วัสดุธรรมชาติในการ

            ประกอบอาชีพประมงและแปรรูปสัตว์น้ำ ของเสียที่เกิดจากกระบวนการ
            ผลิต นำไปสู่การฝังและเผาภายในแต่ละครัวเรือนซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหา
            แต่ต่อมาในยุคที่มีการใช้พลาสติกและโฟมในการบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์
            และวัตถุดิบในการผลิต การฝังและเผาพลาสติกและโฟม ตลอดทั้ง
            เศษปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ประชาชน

            ได้นำแบบอย่างจากชุมชนเมือง โดยการบรรจุขยะจากครัวเรือนใส่
            ถุงพลาสติกมัดให้แน่น แต่อย่างไรก็ตามเทศบาลตำบลภูสิงห์ ยังไม่ได้




         11   สถาบันพระปกเกล้า
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130