Page 109 - kpi21196
P. 109

ส่วนที่ 3



            3.3 ปัจจัยผลสำเร็จหลัก


                  ในการดำเนินงานตามโครงการพลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง มีปัจจัย
            แห่งผลสำเร็จพื้นฐานที่สำคัญ รวม 4 ประการได้แก่


                  ปัจจัยแรก การดำเนินงานจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ
            หน่วยงาน ต้องกำหนดเป็นนโยบายเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีการกำหนดแผน
            เป้าหมายและจัดสรรทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานที่ชัดเจนและเพียงพอ
    คู่มือการบริหารจัดการขยะแบบ “พลเมืองยุคใหม่ ชุมชนไร้ถัง”
            และนอกจากนั้น ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติทั้ง
            ภายในสำนักงานและการนำไปสู่การปฏิบัติในชุมชนอย่างสม่ำเสมอและ

            ต่อเนื่อง ตลอดทั้งมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งรายเดือน
            รายไตรมาส เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรคเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ทัน
            ท่วงทีครับ หากท่านผู้นำไม่ร่วมดำเนินการก็คงจะไม่สำเร็จครับ ขอฟันธง

            เลยครับผม

                  ปัจจัยที่สอง ขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่และการทำงานเป็นทีม
            ของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ในสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไก

            หลักในการนำความรู้และทักษะในการบริหารจัดการขยะเพื่อลงสู่
            การปฏิบัติในชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ต้องสามารถ
            อธิบายความเป็นมาของโครงการ และทักษะในการจัดการขยะและวัสดุ
            เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้นำชุมชน หรือบุคลากรของหน่วยงานอื่น

            เนื่องจากการดำเนินงานในชุมชนมีความซับซ้อนจะต้องอาศัยทั้งความรู้
            ความสามารถ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีมที่มีลักษณะ
            เครือข่ายแนะนำช่วยเหลือซึ่งกันและกันของเจ้าหน้าที่จึงเป็นเรื่องสำคัญครับ


                  ปัจจัยที่สาม การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน สมาชิกสภา อสม.
            กำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่จะนำแนวคิดชุมชนไร้ถังไปสู่การนำการปฏิบัติในระดับ
            ครัวเรือน หรือหน่วยงานอื่น ผู้นำตามข้อนี้อาจจะมีสถานะได้หลายลักษณะ




              สถาบันพระปกเกล้า
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114