Page 4 - kpi21193
P. 4

คำนำ    สถาบันพระปกเกล้า










                                       ภายใต้บริบทปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก
                                  ในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
                                  กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ความท้าทายหลายเรื่องอาจเป็น

                                  ภัยคุกคามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเตรียมพร้อมรับมือ ขณะที่บางเรื่อง
                                  อาจกลายเป็นโอกาสในการพัฒนา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมและ

                                  การบริหารงานเชิงรุกท่ามกลางความท้าทายเหล่านั้น ดังนั้น หากองค์กรปกครอง
                                  ส่วนท้องถิ่นมุ่งหวังที่จะตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของประชาชนให้ได้
                                  อย่างตรงจุด ตรงใจ และทันท่วงที และยืนหยัดที่จะเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน

                                  ในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคงไม่สามารถบริหารงานแบบประจำได้อีก
                                  ต่อไป แต่จะต้องมีการพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันสถานการณ์

                                  ขยายมุมมอง ปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้มีการดำเนินงานเชิงรุก และสร้างสรรค์
                                  นวัตกรรมในการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
                                  ท้องถิ่น โดยกลไกภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญ

                                  ในการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ
                                  “สมรรถนะองค์กร” (Organizational Capacity)


                                       หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะองค์กรที่โดดเด่น
                                  ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ศึกษาสมรรถนะองค์กรในสามด้าน ได้แก่

                                  ภาวะผู้นำ (Leadership) วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) และ
                                  วิธีปฏิบัติขององค์กร (Organizational Practices) ซึ่งสมรรถนะองค์กรทั้งสามด้าน
                                  นี้เป็นปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมของ

                                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
                                  การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน การส่งเสริมและ

                                  ดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนอย่างครบวงจร การจัดการภัยพิบัติ การพัฒนา
                                  เศรษฐกิจฐานราก และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารงานและ
                                  การให้บริการประชาชนตามแนวคิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นต้น




                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   III
   1   2   3   4   5   6   7   8   9