Page 201 - kpi21193
P. 201

1) เพื่ออนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ฟื้นฟูประวัติศาสตร์ในอดีตของเมืองกระบี่
                  ให้คนในท้องถิ่นรวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับทราบ โดยการเล่าเรื่องราวผ่านทางประติมากรรม
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  (Sculpture) ต่าง ๆ ของเมืองกระบี่ และศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน จังหวัดกระบี่

                          2) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมืองกระบี่ ที่นำเสนอความแตกต่าง (Different)

                  ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร (Unique) และมีลักษณะพิเศษที่ชัดเจน (Distinctiveness)
                  ให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี นอกเหนือจากการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งมีข้อจำกัด
                  ตามฤดูกาลท่องเที่ยว


                          3) เพื่อให้ชุมชนเกิดการรวมกลุ่มอาชีพ เป็นการสร้างรายได้และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
                  ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นและผู้ประกอบการในเมืองกระบี่ ทำให้การท่องเที่ยวในเขตเมืองกระบี่

                  คึกคัก ประชาชนในเขตเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

                          4) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ฝึกอบรม จัดกิจกรรมด้านศิลปะ วัฒนธรรมให้แก่
                  เด็ก เยาวชน ศิลปิน ประชาชน รวมถึงเป็นศูนย์กลางการจัดงานศิลปะระดับภูมิภาคของศิลปิน

                  แห่งชาติ ศิลปินนานาชาติ ศิลปินท้องถิ่น และยุวศิลปินจากทั่วประเทศ

                        2. กระบวนการดำเนินงาน


                          การดำเนินงานของเทศบาลกระบี่ในการนำศิลปะสร้างการท่องเที่ยว เริ่มต้นขึ้นใน
                  พ.ศ. 2546 โดยเริ่มจากการสร้างสัญญาณไฟจราจรสี่แยกมนุษย์โบราณ จากนั้นได้มีการสร้าง

                  ประติมากรรมชิ้นอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีก โดยในช่วงปี พ.ศ. 2546-2557 เทศบาลเมืองกระบี่
                  ได้สร้างประติมากรรมทั้งหมด จำนวน 15 ชิ้น เช่น ประติมากรรมมนุษย์โบราณ ประติมากรรม

                  ช้างชูกระบี่ ประติมากรรมองค์พ่อจตุคามรามเทพ ประติมากรรมนกอินทรี กม.0 ประติมากรรม
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   เสือเขี้ยวดาบ ประติมากรรมเรือชีวิต ประติมากรรมน้ำใจ ประติมากรรมกำแพงประวัติศาสตร์เมือง

                  กระบี่ ประติมากรรมรู้รักสามัคคี ประติมากรรมโขลงช้าง ประติมากรรมคลื่นน้ำ สายลม

                  เสียงเพลงแห่งอันดามัน ประติมากรรมครอบครัวเสือ และประติมากรรมปลานีโม่ ที่สำคัญ
                  ประติมากรรมหลายแห่งกลายเป็น Landmark จุดนัดพบ และสถานที่ถ่ายภาพของจังหวัด

                  ที่นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมายังจังหวัดกระบี่จะต้องมา เช่น ประติมากรรมปูดำ เป็นต้น (เทศบาล
                  เมืองกระบี่, 2562)


                          นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2554 เทศบาลเมืองกระบี่ได้จัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรม
                  อันดามัน จังหวัดกระบี่” เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
                  ศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาค ที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของจังหวัดกระบี่ ตั้งแต่ยุคก่อน






                1 2   สถาบันพระปกเกล้า
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206