Page 12 - kpi21193
P. 12

ส่วนที่ 1

                                  ผลการศึกษาโดยภาพรวม


                                  วิลาวัณย์ หงษ์นคร   1








                                              หนังสือเล่มนี้เป็นผลการศึกษาวิจัยของ “โครงการวิจัยการบริหารงาน
                                        ที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2562” ซึ่งเป็นโครงการ

                                        ที่ต่อยอดจากการมอบรางวัลพระปกเกล้าทองคำและรางวัลพระปกเกล้า
                                        ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2561 เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้
                                        ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่หนึ่ง: ผลการศึกษาโดยภาพรวม

                                        ของโครงการ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบถึงที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์
                                        ขอบเขตการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การอภิปราย
                                        ผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะองค์กรที่โดดเด่น และข้อเสนอแนะ

                                        ที่มีต่อสมรรถนะองค์กร เนื้อหาส่วนนี้จะเป็นการฉายภาพให้ผู้อ่านเห็นถึง
                                        สมรรถนะองค์กรที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยความสำเร็จขององค์กรปกครอง

                                        ส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำและรางวัลพระปกเกล้าในปี
                                        พ.ศ. 2561 สำหรับส่วนที่สอง: ผลการศึกษารายกรณีศึกษา เนื้อหาส่วนนี้นำ
                                        เสนอผลการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา รวม

                                        10 แห่ง ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภททั้งองค์การบริหาร
                                        ส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล และกระจายตัวตาม

                                        ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มนี้มีนวัตกรรม
                                        การบริหารงานและการจัดบริการสาธารณะที่โดดเด่นในด้านที่แตกต่างกัน
                                        อาทิ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

                                        ให้แก่เด็กและเยาวชน การส่งเสริมสุขภาพของประชาชนอย่างครบวงจร
                                        การจัดการภัยพิบัติ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และการนำเทคโนโลยี
                                        สมัยใหม่มาใช้ในการบริหารงานและการให้บริการประชาชนตามแนวคิด

                                        เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ดังนั้น กรณีศึกษาจะช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพ
                                        เชิงลึกเกี่ยวกับสมรรถนะองค์กรที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผล
                                        ต่อนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                                            1   นักวิชาการผู้ชำนาญการ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า


                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17