Page 14 - kpi21190
P. 14

14



               โดยประเทศไทยได้บัญญัติเรื่องการขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมไว้ใน

               รัฐธรรมนูญ มาตรา 257 และมาตรา 258 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 4
               โดยได้กำหนดให้ความเหลื่อมล้ำเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข หากแต่ความพยายาม
               ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อสร้างพื้นที่ประชาธิปไตยขึ้นมานั้น ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
               ทำให้ประเทศไทยยังคงมีความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในบริบทที่ต้องสร้างประชาธิปไตยคุณภาพให้มี

               ความเข้มแข็ง

                     ในขณะเดียวกันความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ส่งผลเสียต่อประชาธิปไตยของประเทศ
               อันแสดงออกมาในรูปแบบโครงสร้างทางกฎหมาย กระบวนการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ
               รวมไปถึงการดำเนินวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนที่ยังติดกับดักความเหลื่อมล้ำอยู่ รายงาน

               ข้อเท็จริงสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้เปิดเผยข้อมูลว่าประเทศไทยติดอันดับต้นของโลกด้าน
               ความเหลื่อมล้ำของการถือครองที่ดินและทรัพย์สิน โดยนัยยะของความเหลื่อมล้ำ มิใช่เพียง
               ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของคนในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีนัยยะสำคัญรวมไปถึงความเหลื่อมล้ำ
               ในกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งทางการเมือง ระบบกฎหมาย เทคโนโลยี สังคมวัฒนธรรม และ

               การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นในเรื่องทรัพยากร การศึกษา และการบริการสาธารณะ เป็นต้น
               ซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าวส่งผลต่อดุลยภาพของประชาธิปไตยในประเทศด้วย

                     ในวาระที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญของการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยอีกวาระหนึ่ง
               สถาบันพระปกเกล้าในฐานะสถาบันวิชาการด้านการเมืองการปกครองของประเทศ ได้เล็งเห็นถึง

               ความสำคัญและความจำเป็นในการนำประสบการณ์ของประเทศไทยและนานาชาติมาทบทวน
               เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อเสนอแนะที่ได้มาคิดหาทางออกร่วมกันในการลดช่องว่าง
               ความเหลื่อมล้ำเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพในอนาคต จึงได้กำหนดให้มีการประชุม

               วิชาการประจำปีในครั้งนี้ขึ้น

               2. วัตถุประสงค์


                     1)  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การลดความเหลื่อมล้ำและเสริมสร้าง
               ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศจากนักวิชาการ
               และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                     2)  เพื่อให้ได้ข้อเสนอสำหรับขับเคลื่อนนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้าง

               ประชาธิปไตยไทยที่มีคุณภาพด้วย เพื่อร่วมกันนำพาประเทศไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตย
               ที่ยั่งยืน

               3. กิจกรรมหลัก


                     การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก 3 ส่วน
               ได้แก่
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19