Page 13 - kpi21190
P. 13

13



                                                     1. หลักการและเหตุผล


                                                        ความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำกับ

                                                 ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ มักมีความเชื่อมโยงถึง
                                                ความเป็นเหตุเป็นผลกัน ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์
                                              ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้นทำให้กลุ่มอำนาจทางการเมืองปกป้อง
                                            ผลประโยชน์ของกลุ่มของตนเอง และทำให้เกิดผลเสียต่อ

                                            ความเป็นประชาธิปไตย จนนำมาซึ่งแรงต้านจากประชาชน
                                           เนื่องจากความรู้สึกเหลื่อมล้ำ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งในด้าน
                                          เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อีกนัยยะหนึ่งประชาธิปไตยที่ไม่มี
                                        คุณภาพก็ได้ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เช่น

                                      ความไม่เป็นธรรมจากกฎหมาย นโยบายของรัฐ และกลไกการบริหาร
                                     ประเทศจนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง

                                        ในบริบทสากลการพัฒนาประชาธิปไตยให้มีคุณภาพ ได้สะท้อนให้
                                เห็นเป็นอย่างดีผ่านหลักนิติธรรม การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเลือกตั้ง

                               อย่างเสรีและเป็นธรรม การรับผิดชอบต่อเสียงของประชาชน การมีเสรีภาพ
                              ในการแสดงออกทางการเมือง ความเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ และ
                             การตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของประชาชน หากคนในสังคมได้รับ

                            สิทธิ โอกาส อำนาจ และศักดิ์ศรีในฐานะของพลเมืองตามหลักประชาธิปไตยไม่ว่า
                          จะเป็นทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างครบถ้วน ย่อมเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีถึง
                         การมีประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ อันจะนำมาสู่การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม
                       ซึ่งในปัจจุบันความเหลื่อมล้ำเป็นประเด็นวาระสำคัญเร่งด่วนระดับสากลที่สหประชาชาติ
                      ได้กำหนดการลดความเหลื่อมล้ำเป็นหนึ่งในเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable

                    Development Goals-SDGs)

                        ตลอดระยะเวลาเกือบ 88 ปีที่ผ่านมาบนเส้นทางประชาธิปไตยของไทย ได้มีความพยายาม
                  อย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยให้เกิดความยั่งยืน เพื่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพและ
                  อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข อย่างไรก็ตามบนความพยายามก่อร่างประชาธิปไตย

                  อย่างสมบูรณ์ ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ เพื่อสร้างให้สังคมประเทศ
                  เกิดความเท่าเทียม โดยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของประชาชนที่ยังไม่ได้รับสิทธิและ
                  ความเป็นธรรมให้มีโอกาสได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ และทรัพยากรในประเทศได้อย่าง

                  ทั่วถึง โดยพบว่า ความพยายามดังกล่าวสะท้อนผ่านทั้งการวางรากฐานประชาธิปไตยโดยยึด
                  หลักธรรมาภิบาล การออกแบบรัฐธรรมนูญ การปรับโครงสร้างอำนาจ การสถาปนาองค์กร
                  อิสระขึ้นเพื่อสร้างดุลยภาพที่เหมาะสม การส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีทางการเมือง และการสร้าง
                  เสริมการเมืองภาคพลเมืองให้เข้มแข็งด้วยการส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18