Page 6 - kpi20896
P. 6

5



                                                          บทคัดย่อ


                        งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและ

                 ความเกี่ยวข้องของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล : การสร้างแนวทางลดความเหลื่อมล้้าในประเทศไทยตามหลักสากล

                 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ท้าให้เกิดความเหลื่อมล้้าของรายได้ของประชาชนในกลุ่มประเทศ

                 รายได้ปานกลางของโลก ที่ใช้ตัวชี้วัดความเหลื่อมล้้าด้านรายได้สองรูปแบบด้วยกัน คือ 1) Gini Coefficient

                 หรือดัชนีสัมประสิทธิ์ความเหลื่อมล้้า และ 2) Income share held by lowest 10% หรือสัดส่วนการกระจาย

                 รายได้ไปยังกลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุดร้อยละ 10 โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจาก 101 ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

                 ในระหว่างปี ค.ศ.2000-2017 เป็นแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพิ่มเติม คือ

                 เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องของตัวแปรธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้้าและพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                 เพื่อลดความเหลื่อมล้้าในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้้าด้วยดัชนี Gini

                 Coefficient ใช้วิธีการ Balance Panel Data Analysis ในการวิเคราะห์โดยมีกลุ่มปัจจัยที่ใช้การท้านาย ได้แก่

                 1) กลุ่มตัวแปรการเปิดประเทศจากโลกาภิวัตน์ซึ่งใช้ตัวแปรเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐ

                 และตัวแปรสัดส่วนการส่งออกสินค้าและการบริการคิดเป็นสัดส่วนจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเป็น

                 ตัวแทน  2) กลุ่มตัวแปรการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งใช้ตัวแปรรายได้มวลรวมประชาชาติตามการค้านวณ

                 ค่าเงินสากล และตัวแปรรายจ่ายของรัฐบาลสุดท้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  3) กลุ่มตัวแปรโครงสร้าง

                 ทางระบบเศรษฐกิจซึ่งใช้ตัวแปรอัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวม และตัวแปรสัดส่วนการว่างงาน

                 จากแรงงานทั้งหมดเป็นตัวแทน  4) กลุ่มตัวแปรโครงสร้างภูมิประชากร ศาสตร์โดยใช้ตัวแปรจ้านวนประชากร

                 ในเขตเมืองต่อประชากรทั้งหมด และตัวแปรการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมจากจ้านวนแรงงานทั้งหมดเป็น

                 ตัวแทน  5) กลุ่มตัวแปรตัวแทนธรรมาภิบาลของรัฐ โดยใช้ตัวแปรดัชนีความโปร่งใสและการเรียกร้องตามสิทธิ

                 และตัวแปรดัชนีการควบคุมการทุจริตเป็นตัวแทน


                        ผลการทดสอบพบว่าตัวแปรทุกตัวมีความนิ่งอยู่ในระดับ I (1) และมีความเหมาะสมในการทดสอบ

                 แบบจ้าลองด้วยวิธี Random Effect ซึ่งพบผลที่เป็นไปตามทฤษฎีกล่าวคือ สัดส่วนการว่างงานจากประชากรวัย

                 แรงงาน (b = 0.437) และรายได้มวลรวมประชาชาติตามการค้านวณค่าเงินสากล (b = 9.130) มีผลต่อดัชนี

                 ความเหลื่อมล้้า Gini อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                        ในประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้้าด้วยสัดส่วนการกระจายรายได้ไปยังกลุ่มผู้มีรายได้ต่้าที่สุด

                 ร้อยละ 10 (Income share held by lowest 10%) ใช้วิธีการ Balance Panel Data Analysis ในการวิเคราะห์

                 โดยมีกลุ่มปัจจัยที่ใช้การท้านาย ได้แก่ 1) กลุ่มตัวแปรการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งใช้ตัวแปรรายได้มวลรวม

                 ประชาชาติตามการค้านวณค่าเงินสากล และตัวแปรรายจ่ายของรัฐบาลสุดท้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11