Page 185 - kpi20542
P. 185
ให้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ ที่สำคัญต้องทำงานใกล้ชิดร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ ซึ่งประจักษ์
ชัดเจนถึงบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครคือ การได้รับรางวัลต่อเนื่อง 4 ปีติดต่อกัน ได้แก่
๏ ปี พ.ศ. 2559 รางวัลศูนย์ อปพร. ดีเด่นของศูนย์ อปพร. กลาง กระทรวง
มหาดไทย
๏ ปี พ.ศ. 2560 รางวัลศูนย์ อปพร. ดีเด่นของศูนย์ อปพร. กลาง กระทรวง
มหาดไทย
๏ ปี พ.ศ. 2561 รางวัลศูนย์ อปพร. ดีเด่นของศูนย์ อปพร. กลาง กระทรวง “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
มหาดไทย
๏ ปี พ.ศ. 2562 รางวัลศูนย์ อปพร. ดีเด่นของศูนย์ อปพร. กลาง กระทรวง
มหาดไทย
๏ รางวัลสมาชิก อปพร. ดีเด่นต่อเนื่องติดต่อกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2559 จาก
อปพร.กลาง กระทรวงมหาดไทย จำนวน 6 ราย
3. คุณสมบัติและลักษณะการดำเนินงานของสมาชิก อปพร. มีบทบาทสำคัญที่มาจาก
การอุทิศ การเสียสละเวลาในการปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาปกติ เป็นผู้ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ
มีลักษณะชอบทำงานสังคมและงานให้บริการ อุทิศเวลาให้แก่ประโยชน์สาธารณะ อาสาสมัคร
มีลักษณะการทำงานเชิงรุก มักค้นหาข้อมูล ตอบคำถามและเสนอแนะหาทางออกให้ประชาชน
ที่เข้ามาใช้บริการในเมืองได้เป็นอย่างดี เชี่ยวชาญในเส้นทางลำเลียงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และสามารถ
ใช้พาหนะเข้าถึงและให้บริการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติการทำหน้าที่เป็น
อาสาสมัครนั้นมาจากการพัฒนาความคิดในสังคมที่มีคุณภาพ ประชาชนมีความคิดถึงส่วนรวม
มากกว่าส่วนตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและหายากยิ่งในการบริหารเมืองสมัยใหม่ เพราะสังคม
เมืองในปัจจุบันมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ ไม่ได้ให้ความสนใจหรือเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง
ในการบริหารเมือง นอกจากนี้อาสาสมัครยังมีลักษณะของคุณธรรมหรือจริยธรรมที่ส่งผลต่อ กรณีศึกษา: ด้านสาธารณภัย
ความคิดและการกระทำต่อภายนอก หรือที่เรียกกันว่ามีจิตสำนึกสาธารณะ เนื่องจาก
20
20 จิตสาธารณะ (Public Mind) หรือจิตสำนึกสาธารณะ (Public Consciousness) คือ คนที่มีจิตสาธารณะมักเอาใจใส่
เป็นธุระและเข้าร่วมกิจกรรมของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ มีสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม
และจริยธรรมที่ดีงาม ไม่ทำอะไรที่เป็นโทษต่อคนหมู่มาก ไม่นิ่งดูดาย หากเห็นว่าตนจะทำสิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
ได้แม้จะเพียงเล็กน้อยก็จะทำ เช่น โรงเรียนต้องปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสาธารณะ โตขึ้นจะได้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว เป็นคนที่มีน้ำใจ
คอยช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส คนที่ชอบทำลายของสาธารณะเช่นตู้โทรศัพท์ เก้าอี้ในโรงภาพยนตร์ ป้ายตามทางสาธารณะ ขโมย
ฝาท่อระบายน้ำสาธารณะ เป็นคนไม่มีจิตสาธารณะ. เข้าถึงข้อมูลสำนักงานราชบัณฑิตยสภา จากข้อมูลออนไลน์ http://
www.royin.go.th/?knowledges
สถาบันพระปกเกล้า 1