Page 9 - kpi19912
P. 9

ท าให้ชุมชนเกิดความหวาดกลัวต่ออันตรายใน จ.สิงห์บุรี จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น   ซึ่งผลของ
                   ความขัดแย้งอาจท าให้เกิดความสูญเสียทั้งเวลา งบประมาณ ทรัพย์สินหรือแม้กระทั่งชีวิต บางกรณีก็

                   สามารถจัดการความขัดแย้งนั้นส าเร็จลุล่วงได้ด้วยดี แต่หลายกรณีก็ยังไม่สามารถจัดการได้และยัง
                   ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน
                          ดังนั้นการศึกษาเชิงส ารวจถึงความขัดแย้งที่เกิดจากการด าเนินโครงการของรัฐ โดยเฉพาะใน
                   เขตภาคกลาง จึงมีความจ าเป็นที่ต้องศึกษาอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนถึง

                   สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ในการท าให้เกิดความ
                   สงบเรียบร้อยและสันติสุขในสังคม


                   วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                          เพื่อส ารวจและรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากโครงการที่
                   เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐ ในเขตพื้นที่ ภาคกลาง


                   ระเบียบวิธีวิจัย
                           1.  การวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในประเด็นต่างๆ

                   จากแหล่งข้อมูล เช่น ข่าวหนังสือพิมพ์  เอกสารร้องเรียน  บทความ งานวิจัย เป็นต้น
                           2.  การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
                   เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกบันทึกโดยการเขียน รวมทั้งการบันทึกภาพ
                   และเสียง


                   กรอบการเก็บข้อมูลความขัดแย้ง

                            กรอบการเก็บข้อมูลในการส ารวจครั้งนี้มีเป็นไปตามรูปแบบของส านักสันติวิธีและธรรมาภิ
                   บาล สถาบันพระปกเกล้า ดังนี้
                          1.  พื้นที่ หมายถึง ต าบล อ าเภอ และจังหวัดที่เกิดความขัดแย้ง
                          2.  ประเภท  หมายถึง หัวข้อใหญ่ที่เป็นประเด็นหลักของความขัดแย้ง เช่น ทรัพยากรธรรม
                   ชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการที่ดิน เป็นต้น

                          3.  ระดับการรับรู้ของสังคม หมายถึง สถานการณ์ความขัดแย้งปรากฏเป็นข่าวตามสื่อท้อง
                   ถิ่นและ/หรือสื่อระดับชาติ  ซึ่งจะสามารถวัดความสนใจของชุมชนหรือของสังคมไทยต่อความขัดแย้ง
                   ดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง หากไม่ปรากฏตามสื่อระดับชาติไม่ว่าจะเป็นวิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์

                   ให้ถือว่าความขัดแย้งดังกล่าวอยู่ในระดับท้องถิ่น
                          4.  ประเด็นขัดแย้ง สรุปย่อถึงเรื่องราวโดยรวมที่คู่ขัดแย้งหลักมีความขัดแย้งกัน
                          5.  ความเป็นมา  คือ เรื่องราว/ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาซึ่งส่งผลให้ความขัดแย้งเริ่มก่อตัวขึ้น
                   และปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

                          6.  คู่ขัดแย้งหลักและจุดยืน  หมายถึง บุคคล/ กลุ่มบุคคล/ องค์กร/ หน่วยงานที่ขัดแย้งกัน
                   สองฝ่าย และ ข้อเรียกร้องหรือความต้องการที่คู่ขัดแย้งหลักได้แสดงออกอย่างเปิดเผย
                          7.  ผู้เกี่ยวข้องอื่น หมายถึง บุคคล / กลุ่มบุคคล/ องค์กร/ หน่วยงานนอกเหนือจากคู่ขัดแย้ง
                   หลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในแง่ที่จะท าให้ความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้น และได้สนับสนุน

                   ส่งเสริมหรือขัดขวางความต้องการของคู่ขัดแย้งหลักฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
                          8.  ระยะเวลา หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่เกิดความขัดแย้งขึ้นจนกระทั่งยุติลง
                                                            2
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14