Page 8 - kpi19912
P. 8
บทที่ 1
บทน า
ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติทั้งในระดับบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคมทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศตลอดจนระหว่างประเทศ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่ก็เป็น
สิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง สังคมไทยตั้งแต่อดีตกาลก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งของคนในสังคมเรื่อยมา
และสภาพความขัดแย้งนั้นก็ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ท าให้เกิดความ
ขัดแย้งมาจาก “อ านาจรัฐ” เป็นตัวขับเคลื่อนสังคมในการด าเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ซึ่ง
โดยทั่วไปแล้ว การด าเนินโครงการที่เกิดขึ้นตามแนวนโยบายพัฒนาประเทศของรัฐนั้นมักมีลักษณะ
ของ การจัดการรูปแบบเดิมๆ ที่มักจะใช้การตัดสินใจจากเบื้องบน โอกาสที่ประชาชนมามีส่วนร่วมจึง
มีน้อยหรือไม่มีเลย (วันชัย วัฒนศัพท์, 2547)
จากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนฉบับที่ 1
(พ.ศ.2504 – 2509) ซึ่งเน้นการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจหลักที่มุ่งผลก าไรตามแนวคิดทุนนิยม
จนท าให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ได้สะท้อนถึงความไม่สมดุลของกระบวนการ
พัฒนาประเทศ ประกอบกับการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ท า
ให้เกิดโลกไร้พรมแดน ด้วยความเปลี่ยน แปลงทางเทคโนโลยี ภาวะความเป็นเมือง และพฤติกรรม
การบริโภคนิยมแบบโลกตะวันตก ท าให้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน ปัจจัยดังกล่าว จะ
เป็นภัยคุกคาม หากชุมชนขาดความรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน อาจเป็น
โอกาสในการพัฒนาชุมชนได้ หากชุมชนสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากบริบทการเปลี่ยนแปลง
ได้อย่างเหมาะสม การพัฒนาประเทศที่ไม่สมดุลนี้ ได้ท าให้ชุมชนในชนบทบางแห่งอยู่ในสภาพที่
เกือบล่มสลาย โดยเห็นได้จากสภาพการณ์ที่ปรากฎ ทั้งความยากจนของคนชนบท การสูญเสียและ
เสื่อมโทรมของธรรมชาติและสภาพแวดล้อมในชนบท การสูญเสียพลังคนหนุ่มสาวให้กับภาคสังคม
เมือง ความผูกพัน เอื้ออาทร ร่วมแรงร่วมใจของคนในชนบทเสื่อมลง การครอบง าของกลไกรัฐที่บั่น
ทอนศักยภาพของชุมชน (บุญนาค ตีวกุล, 2543) จนกระทั่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่
ฉบับที่ 8 จนถึงแผนที่ 12 ได้มีการเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาที่เน้นเศรษฐกิจมาเป็นการพัฒนาที่เน้น
คนเป็นศูนย์กลาง เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค
เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยน แปลงโดยอาศัยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และประชาสังคม
เป็นยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลง
ค าว่า “การพัฒนา” จากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ หลายคนก็อาจนึกถึง
ความหมายในแง่บวก ซึ่งมาจากจินตนาการเชิงบวกถึงคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจ และสังคมที่ดีขึ้น แต่
จากสถิติ และข้อมูลจ านวนมากก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างสิ้น เชิงว่า อีกด้านหนึ่งของ “การพัฒนา”
ก็น ามาซึ่ง “ความไม่เท่าเทียม” และก่อให้เกิด “ความขัดแย้ง” ไปทั่วประเทศ ดังเช่นกรณีความ
ขัดแย้งที่เกิดขี้นในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ การจัดผังเมืองพื้นที่ต าบลเกวียนหัก อ าเภอขลุง
เป็นพื้นที่สีชมพู การคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ในหลายพื้นที่ทั้ง ต.นครเนื่องเขต ต. เขาหิน
ซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ท่าเสน จ.เพชรบุรี ปัญหาการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์
1