Page 94 - kpi19910
P. 94
84
กรณีศึกษาโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐจังหวัดระนอง
21. ความขัดแย้งการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่บนเกาะพยาม
พื้นที่ : เกาะพยาม อ าเภอเมือง จังหวัดระนอง
ประเภทความขัดแย้ง : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พลังงาน)
ระดับการรับรู้ของสังคม : ระดับท้องถิ่น มีเผยแพร่ในสื่อท้องถิ่นบ้าง และปรากฏข้อมูลในเอกสารทาง
ราชการ
ประเด็นขัดแย้ง :
ชาวเกาะพยามและผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนเกาะพยาม คัดค้านการท าประชาพิจารณ์
โครงการผลิตไฟฟ้าของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งให้ความรู้เรื่องการใช้ไฟฟ้าในบ้านอย่างปลอดภัย และได้
มีการพูดถึงพลังงานสะอาด โดยอาศัยเอกสารที่มีโลโก้การไฟฟ้าในการสร้างความน่าเชื่อถือ
ความเป็นมา :
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ชาวเกาะพยามและผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนเกาะพยาม ต.
ปากน า อ าเภอเมือง จังหวัดระนองราว 20 คน ได้เดินทางมาที่ศูนย์ราชการจังหวัดระนอง เพื่อยื่น
หนังสือคัดค้านการท าประชาพิจารณ์โครงการพลังงานอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทย โดยมีนาย
สุริยันต์ กาญจนศิลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียน โดยมีนายอนุรักษ์ มณีศรี
ชาวบ้าน หมู่ 1 ต าบลเกาะพยาม ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวบ้านได้บอกว่า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558
ซึ่งเป็นวันประชุมชาวบ้านประจ าเดือน ทาง อบต. เกาะพยามได้ให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งเข้ามาให้
ความรู้เรื่องการใช้ไฟฟ้าในบ้านอย่างปลอดภัย และได้มีการพูดถึงพลังงานสะอาด ซึ่งในเอกสารมีโลโก้
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ท าให้ชาวบ้านคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้า หลังจากนั นได้มีการถาม
ชาวบ้านว่าถ้าเกาะพยามจะมีพลังงานไฟฟ้าสะอาดจะเห็นด้วยหรือไม่ ท าให้ชาวบ้านทั งหมดบอกว่า
เห็นด้วย และหลังจากวันนั นได้มีการน าเอารายชื่อการประชุมประจ าเดือนของชาวบ้านไปเป็น
การรับรองการท าประชาพิจารณ์เรื่องโครงการพลังงานอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก
กังหันลม และพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ต่อมาได้มีการเปิดให้ชาวบ้านจองมิเตอร์อัจฉริยะ
โดยมีการน าของแถมคือเสื อ และเพาเวอร์แบงก์มาเป็นสิ่งจูงใจ ท าให้มีชาวบ้านส่วนหนึ่งหลงกลไปท า
การจอง โดยเสียค่าจองมิเตอร์ไฟฟ้าจ านวน 500 บาท ในขณะที่ยังไม่รู้เลยว่าจะด าเนินการผลิตไฟฟ้า
ตรงไหน ยังไม่มีเสาไฟ ไม่มีสายไฟฟ้าใด ๆ และเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการประชุม
ชาวบ้านประจ าเดือน และได้มีการน าเรื่องโครงการพลังงานดังกล่าวมาพูดในที่ประชุม โดยบอกว่าผ่าน
การท าประชาพิจารณ์แล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558 ท าให้ชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยสงสัยว่าท าตั งแต่
เมื่อไหร่ เพราะในวันนั นไม่ได้มีการพูดถึงรายละเอียดและผลกระทบของโครงการ รวมค่าไฟฟ้าที่จะ
จ าหน่ายให้ชาวบ้าน อีกทั งไม่ได้มีการบอกว่าจะเป็นการท าประชาพิจารณ์ ชาวบ้านจึงต้องการให้
ยกเลิกการอ้างผลประชาพิจารณ์ แล้วให้มาคุยรายละเอียดทั งหมดกับชาวบ้านใหม่อีกครั ง เนื่องจาก
ชาวเกาะพยามอยู่กันมาหลายสิบปีโดยไม่มีไฟฟ้าจากภาครัฐก็ยังอยู่กันได้ อีกทั งการท่องเที่ยวของเกาะ