Page 77 - kpi19164
P. 77

จากการผลิตแบบเลี้ยงตัวเอง (Self Sufficiency) เป็นการผลิตเพื่อตลาด (Marketing System) ท า
                   ให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ จึงท าให้มี

                   การขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกมากขึ้น ท าให้ความต้องการเงินทุนของชาวนาเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น

                   ชาวนาในระบอบเศรษฐกิจเพื่อการค้าต้องการให้ทุนและเงินกู้ แต่เดิมไม่เคยมีองค์การเครดิตใดใน
                   ชนบทส าหรับช่วยเหลือชาวนา ชาวนาจึงต้องพึ่งเงินกู้จากคหบดีหรือพ่อค้าปล่อยเงินกู้ ซึ่งเรียก

                   ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก และบางรายก็ใช้วิธีการตกข้าวและตกพืชผลอื่นๆ ด้วย ภาวะเช่นนี้ท าให้

                   ชาวนาเสียเปรียบอย่างมาก จึงเป็นการยากที่จะปลดหนี้สินของตนโดยล าพัง เพราะต้องเสียดอกเบี้ย
                              1
                   ในอัตราที่สูง
                           ต่อมาในปีพ.ศ. 2457 รัฐบาลสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเซอร์ เบอร์

                   นาร์ด ฮันเตอร์ (Sir Bernard Hunter) หัวหน้าธนาคารแห่งมัทราส ประเทศอินเดีย เสนอให้ชาวนาที่
                   จะเข้ามากู้ยืมเงินรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมเพื่อช่วยเหลือกันและกัน เรียกว่า Co-operation

                   กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจึงมีความคิดที่จะน าวิธีการสหกรณ์เข้ามาใช้ในประเทศไทย เพื่อแก้ไข

                   ภาวะความเป็นอยู่ของชาวนาที่มีสภาพหนี้สินให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากข้อเสนอของนายฮัน
                   เตอร์ ท าให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้เพิ่มงานแผนกสหกรณ์เข้าในกรมพาณิชย์และสถิติ

                   พยากรณ์ และยกฐานะขึ้นเป็นกรมชั้นอธิบดี เพื่อริเริ่มทดลองการจัดตั้งสหกรณ์ ในปีเดียวกัน (พ.ศ.

                                                             2
                   2457) พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  ทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ใน
                   กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

                           ผลจากการจัดตั้งแผนกสหกรณ์ได้มีการตระเตรียมงานหลายอย่าง เช่น การเผยแพร่ความรู้

                   การสหกรณ์ การเลือกท้องที่ทดลองจัดตั้งสหกรณ์ การหาทุนเพื่อใช้ในการจัดตั้งสหกรณ์ ตลอดจน
                   ระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ และรวบรวมวิธีการด าเนินงานต่างๆ เป็นต้น และเพื่อให้การทดลอง

                   จัดตั้งสหกรณ์สามารถด าเนินการได้

                           ต่อมาได้ริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์หาทุนในจังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกนั้น พระยาสุรบดินทร์
                   สุรินทร์ฤาไชย (พร จารุจินดา) สมุหเทศาภิบาลมณฑลจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้สนใจในงานสหกรณ์ ได้

                   ร้องขอให้จัดตั้งเป็นตัวอย่างที่จังหวัดพิษณุโลกก่อน จากเหตุการณ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2459 เมื่อ

                   รัฐบาลได้แต่งตั้งอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อให้มีอ านาจ
                   ด าเนินการจัดตั้งและรับจดทะเบียนสหกรณ์ จึงตกลงว่า จะจัดตั้งสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรบาง





                   1  กรมส่งเสริมสหกรณ์, (2519), หลักการของสหกรณ์และการส่งเสริมสหกรณ์ในประเทศไทย (กรุงเทพฯ: กองวิชาการ กรมส่งเสริม
                   สหกรณ์), น.15-16.
                   2  พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงนิพนธ์หนังสือชื่อ “สหกรณ์” พร้อมทั้งทรงบัญญัติศัพท์ค าว่า “สหกรณ์” ซึ่งตรงกับ
                   ภาษาอังกฤษว่า “Co-operation” และได้มีการพิจารณาแจกหนังสือเล่มนี้ไปยังเจ้าเมืองมณฑลต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์

                                                            68
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82