Page 75 - kpi17721
P. 75
.
บุคลากรท้องถิ่น
บุคลากรของเทศบาลนครนนทบุรี โดยเฉพาะบุคลากรจากสำนักการสาธารณสุขและ
สิ่งแวดล้อม เป็นผู้มีทักษะ องค์ความรู้ความสามารถด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ท้องถิ่นใจดี .
องค์กรเครือข่าย
องค์กรเครือข่ายทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ให้ความร่วมมือในการร่วมเป็นเครือข่าย
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตามบทบาท และหน้าที่ของตนเอง
5.
ภาคประชาชนในพื้นที่
การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีจิตอาสาในการดำเนินงาน ให้ความร่วมมือ
ในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตามบทบาท และหน้าที่ของตนเอง
.
งบประมาณ
เทศบาลนนทบุรี มีงบประมาณเพียงพอสำหรับดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่
จนนำไปสู่การก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
ต่างๆ ภายใต้ “โครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ”
อุปสรรคในการดำเนินโครงการและการแก้ไขปัญหา
การดำเนินโครงการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในระยะแรก พบอุปสรรคด้าน
สถานที่ในดำเนินการ ซึ่งภาวะสังคมเมืองทำให้ไม่มีสถานที่สำหรับดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้อย่างเพียงพอ เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นของเทศบาลนครนนทบุรี
ร่วมรับทราบและพิจารณาถึงความสำคัญของปัญหา จึงนำไปสู่การพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการ
ดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ภายใต้ “โครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพ
ชีวิตผู้สูงอายุ” ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้การดำเนินโครงการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมี
ความยั่งยืน
ความยั่งยืนของการดำเนินโครงการ
โครงการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นโครงการที่มีความยั่งยืน เนื่องจาก
มีการดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือระหว่าง เทศบาลนครนนทบุรี สำนักส่งเสริมสุขภาพ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งโครงการความร่วมมือนี้ เป็น
โครงการที่มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (12 ธันวาคม 2556 – 12 ธันวาคม 2559)
8 สถาบันพระปกเกล้า