Page 52 - kpi17721
P. 52
(Universal Design) นี้จะสามารถรองรับความหลากหลายทางสังคมให้สามารถใช้บริการได้เท่าเทียม
เสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ สตรีมีครรภ์ เด็ก รวมไปถึงกลุ่มเพศที่สาม ให้สามารถ
ดำรงชีวิตและทำกิจกรรมภายนอกบ้านได้สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยต่อมาที่ทำให้โครงการ “ขอนแก่นเมืองใจดี การแบบเพื่อคนทั้งมวล” (KhonKaen ท้องถิ่นใจดี
Universal Design Project) ประสบความสำเร็จ คือ เครือข่ายที่เป็นตัวแทนผู้พิการของเทศบาล
นครขอนแก่น คือ “พี่เก่ง” ที่เป็นตัวจุดประกายหรือเป็นแรงผลักดันให้โครงการเดินหน้า เดิมทีก่อนที่
พี่เก่ง หรือนายยุทธนา บุตรสุริยะ มีครอบครัวที่มีฐานนะ ที่บ้านประกอบอาชีพขายเครื่องปรับอากาศ
ต่อมาได้ประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2539 ทำให้กระดูกสันหลัง
หักทันเส้นประสาทไขสันหลังทำให้เป็นอัมพาต ขาทั้ง 2 ข้าง ขยับและเดินไม่ได้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
พี่เก่งพยายามที่จะฆ่าตัวตายถึง 2 ครั้ง แต่ทางเทศบาลจึงได้เข้าไปเยี่ยมและช่วยเหลือ โดยคนที่
สามารถพูดโน้มน้าวให้พี่เก่งไม่คิดฆ่าตัวได้ คือ นายเขมกร พลโยธา ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ช่วยเหลือคนพิการในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ภายหลังเทศบาลนครขอนแก่น
จึงได้เข้าไปช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และหาบ้านพักให้เช่าและสนับสนุนงบประมาณในการติดตั้ง
อุปกรณ์และปรับปรุงพาหนะเพื่อใช้ในการเดินทาง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินทางคือ วีลแชร์ สำหรับ
คนพิการ
ในปัจจุบันนี้ “พี่เก่ง” หรือ นายยุทธนา บุตรสุริยะ ยังเป็นอาสาสมัครของเครือข่าย (เหยื่อ
เมาแล้วขับ มูลนิธิเมาไม่ขับ) โดยทำหน้าที่เป็นวิทยากรรณรงค์ไม่ให้คนดื่มเหล้าแล้วขับ ที่โรงพยาบาล
ศูนย์ขอนแก่น
เทศบาลนครขอนแก่นได้เข้าไปช่วยเหลือและให้ความสำคัญกับคนพิการไม่เพียงเฉพาะพี่เก่ง
หรือ นายยุทธนา บุตรสุริยะ เท่านั้น ผู้ป่วยหรือคนพิการคนอื่นที่อาศัยในเขตเทศบาลนครขอนแก่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
ทางเทศบาลนครขอนแก่นก็ให้ความสำคัญเช่นกัน และสิ่งที่เป็นตัวจุดประกายโครงการ “ขอนแก่น
เมืองใจดี การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล” คือ ผู้ป่วยหรือคนพิการที่จะพยายามช่วยเหลือตัวเอง และ
มีการดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป
ในขณะเดียวกันโครงการ “ขอนแก่นเมืองใจดี การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล” ยังมีโครงการย่อย
จำนวน 3 โครงการ มีดังนี้ 14
1. โครงการ “คนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกันอิ่มท้องอุ่นใจใกล้บ้าน/ใกล้โรงเรียน กับข้าวแกง
ปากซอยหรือข้าวแกงน้ำใจคนในชุมชน” เป็นโครงการที่เทศบาลนครขอนแก่นได้ร่วมกับแม่ค้าขาย
อาหารในชุมชน และในโรงเรียนที่มีจิตการกุศลทำอาหารให้คนยากจนและคนพิการ/ผู้สูงอายุที่
ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และนักเรียนที่อยู่ภายใต้โครงการคนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกันรับประทานอาหาร
14 สัมภาษณ์ กานต์พัชชา มะนิยม, นักพัฒนาชุมชน 7ว เทศบาลนครขอนแก่น, 21 ตุลาคม 2558.
สถาบันพระปกเกล้า 5