Page 51 - kpi17721
P. 51
อย่างไร และมีการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการและหาทางร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของ
โครงการและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและคนพิการ”
ท้องถิ่นใจดี ปัจจัยความสำเร็จ
ความสำเร็จของโครงการ “ขอนแก่นเมืองใจดี การแบบเพื่อคนทั้งมวล” (KhonKaen
Universal Design Project) คือการที่เทศบาลนครขอนแก่นได้วางยุทธศาสตร์เมืองขอนแก่นให้เป็น
เมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านต่างๆ เช่น ศูนย์กลางด้านการศึกษา การคมนาคมขนส่ง
และการท่องเที่ยว เรื่องอารยสถาปัตย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็น เพราะจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิต
ของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะผู้พิการจะสามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้ และทำงานสร้างรายได้ให้
กับตัวเองและครอบครัวได้ เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระของคนรอบข้าง หรือเป็นภาระของสังคมอีกต่อไป
โครงการ “ขอนแก่นเมืองใจดี การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล” เริ่มแรกเกิดจากนโยบายของผู้บริหาร
และได้กำหนดภารกิจในการดำเนินงาน ออกเป็น 7 ภารกิจ ภายใต้หลักการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์”
ขณะเดียวกัน เทศบาลนครขอนแก่นมีการประชาสัมพันธ์โครงการ “ขอนแก่นเมืองใจดี การออกแบบ
เพื่อคนทั้งมวล” เพื่อเป็นสร้างกระบวนการการทำงานให้กับผู้พิการและประชาชนทั่วไปได้เข้าใจและ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
เข้าถึงเจตนารมณ์ของโครงการ และให้เข้าถึงการพัฒนาในทุกระดับชั้น โดยเกิดจากผู้ป่วยติดเตียง
หรือกลุ่มคนพิการ มนุษย์ล้อให้เข้ามามีบทบาทหรือเข้ามาร่วมออกแบบเมือง เพื่อรักษาสิทธิของความ
เป็นคนพิการ และการร่างกฎหมายหรือข้อบัญญัติของเทศบาลนครขอนแก่น ตลอดจนการค้นหาฑูต
(Brand Ambassador) ในการสร้างภาพลักษณ์ของขอนแก่นเมืองใจดีโดยได้รับเกียรติจาก
คุณกฤษณะ ละไล จากรายการกฤษณะทัวร์ยกล้อ
โครงการ “ขอนแก่นเมืองใจดี การแบบเพื่อคนทั้งมวล” (KhonKaen Universal Design
Project) เกิดจากเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น โดยการสร้างเครือข่ายดังกล่าว
ทำให้โครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่เทศบาลนครขอนแก่นได้กำหนดไว้
ของจนทำให้ได้รับรางวัลพระปกเกล้า ปี 2557 ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชา-
สังคม และยังสามารถเป็นต้นแบบในการสร้างเครือข่ายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน/
องค์กรอื่นๆ ได้ ปัจจัยอื่นที่ทำให้โครงการ “ขอนแก่นเมืองใจดี การแบบเพื่อคนทั้งมวล” (KhonKaen
Universal Design Project) เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน/ภาคประชาชน ที่เข้ามาเป็นเครือข่าย
กับเทศบาลนครขอนแก่น ในการตัดสินใจร่วมกันและร่วมมือกันในการดำเนินงานร่วมกับเทศบาล
นครขอนแก่น ซึ่งมีการเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 17 ธันวาคน 2557 ทำให้เกิดภาคีภาคประชาชน
เข้ามาบริหารจัดการมากขึ้น โดยการกระจายช่างชุมชนภาคประชาชนให้ครอบคลุมทั้ง 95 ชุมชน ใน
การสร้างและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก การออกแบบอาคาร สถานที่สถาปัตยกรรมต่างๆ และ
สิ่งของเครื่องใช้ที่เอื้อต่อการดำรงอยู่อย่างเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ หรืออารยสถาปัตย์
สถาบันพระปกเกล้า