Page 29 - kpi17721
P. 29

ทั้ง 4 เขตได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางถึงความต้องการของผู้พิการ เพื่อจัดเก็บข้อมูลและนำไป

           ปรับใช้ในการบริการสาธารณะในด้านต่างๆ ให้ได้อย่างครอบคลุมและแยกตามความต้องการของ
           ผู้พิการแต่ละประเภทเพื่อให้เข้าถึงการบริการอย่างครอบคลุมทุกด้าน” (ธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์. 2556 :
     ท้องถิ่นใจดี  คมชัดลึก)


           ความเป็นมาของโครงการ


                 โครงการขอนแก่นเมืองใจดี การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Khonkaen Universal Design)
           เกิดขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่ว่า “เราจะพัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข”
           โดยการที่จะพัฒนาเมืองไปสู่สากลนั้น ไม่ใช่เพียงจะมีเมืองที่ใหญ่ มีตึกสูง หรือมีประชากรเยอะ

           แต่การที่จะสร้างสังคมแห่งความสุขได้นั้นต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยในเขต
           เทศบาลนครขอนแก่น ทั้ง 95 ชุมชน  ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของการขับเคลื่อนการพัฒนา
           เมือง คือการสร้างเมืองที่ทุกคนสามารถเข้าใจและเข้าถึงการพัฒนาเมืองได้ทุกมิติและเท่าเทียมกัน

           “ขอนแก่นเมืองใจดี การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล นับว่าเป็นแนวนโยบายที่จะตอบสนองให้กับผู้พิการ
           ในพื้นที่ รวมไปถึงคนชราและสตรีมีครรภ์ ที่เทศบาลได้ให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าคนปกติทั่วไป
     การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
           ที่ผ่านมาเราทำกันแบบคิดไปเองจึงทำให้สิ่งที่ทำไม่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของกลุ่มคน
           เหล่านี้ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ “บริเวณทางเข้าสำนักงานเทศบาล ได้ทำทางลาดขึ้นแบบสมบูรณ์

           แบบที่สุด แต่คนพิการหรือผู้ที่ใช้ทางลาดแห่งนี้เป็นทางขึ้นนั้นไม่สามารถเข้าไปในตัวอาคารสำนักงาน
           ได้ เพราะตัวล็อคปิดประตูในจุดประตูทางเข้าที่เป็นประตูบานเลื่อน มีลักษณะแหลมคมและสูง

           จึงทำให้คนพิการที่ใช้รถเข็นนั้นไม่สามารถเข้าไปได้เพราะจะทำให้ล้อรถเข็นรั่วได้ จุดนี้ก็เป็นอีก
           จุดหนึ่งที่เราจะต้องคิดให้กว้างและรอบคอบมากขึ้น ขณะที่คนพิการทางร่างกายบางกลุ่ม ที่มาร่วม
           พูดคุยกันในครั้งต่างบอกว่าเรื่องพื้นฐานบางอย่างกลุ่มคนเหล่านี้มีครบแต่ที่ได้คือใบขับขี่รถยนต์และ
           รถจักรยานยนต์ ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามองกันไกลเกินไป สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจะถูกบันทึกและ

           นำเข้าหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันเพื่อให้ขอนแก่นกลายเป็นเมืองใจดีที่สมบูรณ์แบบและอยู่ร่วมกัน
           ได้อย่างมีความสุขของคนทุกกลุ่ม”  1

                 จากปัญหาต่างๆ ของชุมชนเทศบาลนครขอนแก่นตามขั้นตอนจะถูกส่งเข้าสู่ที่ประชุมสภาเมือง

           เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน เสนอแนะ และรับทราบถึงนโยบายและทิศทางของการดำเนินงานของเทศบาล
           ในภาพรวม ทั้งนี้การพัฒนาเมืองของเทศบาลนครขอนแก่น ยังคงเป็นไปในรูปแบบของการมีส่วนร่วม

           และกระจายแผนงานเข้าสู่ชุมชน โดยจะต้องเป็นความต้องการและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน
           ชุมชนอย่างแท้จริง จากการประชุมได้มีการพูดคุยและนำเสนอแผนการดำเนินงานที่ต่อเนื่องกับการ
           ดำเนินงานอารยสถาปัตย์ (Universal Design) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการอยู่รวมกันภายใน


                  1   สัมภาษณ์ ธนาวุธ ก้อนใจจิตร, รองปลัดเทศบาลนครขอนแก่น, 21 ตุลาคม 2558.



        22     สถาบันพระปกเกล้า
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34