Page 227 - kpi17721
P. 227
ความสำเร็จในเชิงรูปธรรม พิจารณาจากระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการเข้าร่วม
ประชุมเวทีสาธารณะในปี พ.ศ. 2556 คิดเป็นร้อยละ 63.33 ของกลุ่มเป้าหมาย และในปี พ.ศ. 2557
คิดเป็นร้อยละ 76.38 ของกลุ่มเป้าหมาย จากการจัดโครงการประชุมเวทีสาธารณะขององค์การ
ท้องถิ่นใจดี บริหารส่วนตำบลหนองแปนทั้งสองปีที่ผ่านมาพบว่ามีอัตราการเข้าร่วมประชุมของประชาชนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.05 ถือเป็นแนวโน้มที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของประชาชนต่อการตอบรับการจัดเวที
สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน นอกจากการพิจารณาจากตัวเลขที่แสดง
อัตราส่วนของประชาชนในการเข้าร่วมประชุมเวทีสาธารณะแล้ว หากพิจารณาตามโครงการที่ผ่านมติ
ของที่ประชุมเวทีสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2557 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 22 โครงการ โดยส่วนมากเป็น
โครงการที่ประชาชนเสนอเพื่อให้เกิดการแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ถนน ไฟฟ้า ระบบ
ชลประทาน (การระบายน้ำ, เครื่องสูบน้ำ) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่ประชาชนให้ความ
สำคัญจนถึงขั้นลงประชามติเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตั้งขึ้นโดยประชาชนหรือคนใน
ชุมชนตำบลหนองแปน ได้แก่ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “โครงการ
เฝ้าระวังป่าภูรวกสาธารณะประโยชน์” หรือ โครงการที่ส่งเสริมให้เกิดอาชีพแก่ประชาชนในท้องถิ่น
การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
เช่น “โครงการกลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า” เป็นต้น อนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบล
หนองแปนได้ดำเนินการตามโครงการที่ผ่านประชามติจากที่ประชุมสาธารณะไปแล้ว 18 โครงการ
(จากจำนวน 22 โครงการ) คิดเป็นร้อยละ 81.82 ของการให้บริการสาธารณะเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ความสำเร็จในเชิงนามธรรมของโครงการประชุมเวทีสาธารณะ ถือเป็นการวัดผลสำเร็จของ
การดำเนินการจากการประเมินโดยการเปรียบเคียงจากผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่สามารถสะท้อนผล
ในเชิงนามธรรมได้ เช่น การเกิดจิตสำนึกของประชาชนในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใน
เขตพื้นที่ตำบลหนองแปน (วัดได้จากอัตราส่วนการเข้าร่วมกิจกรรม) ลดความขัดแย้งเนื่องจากเวที
สาธารณะสามารถเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างประชาชนกับองค์การบริหารส่วนตำบล
หนองแปนเพื่อตรวจสอบและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ตรงตามความ
ต้องการของประชาชนช่วยให้ประหยัดงบประมาณการใช้จ่าย และก่อให้เกิดการพัฒนาคนภายใต้
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และช่วยให้เกิดการบริหารงานอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้
ตามหลักธรรมาภิบาล
ความยั่งยืนและการต่อยอดโครงการ
โครงการประชุมเวทีสาธารณะเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น
ประกอบกับบุคลากรทั้งในด้านตัวผู้นำชุมชน คณะบริหารและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้อง
ร่วมมือกันในการผลักดันและเข้าร่วมโครงการประชุมเวทีสาธารณะเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการ
220 สถาบันพระปกเกล้า