Page 226 - kpi17721
P. 226

และคณะผู้บริหาร ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปนที่มีบทบาทหน้าที่และ

               ความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ปี
               (นับแต่ พ.ศ. 2556-2558) โดยการดำเนินการจัดประชุมเวทีโสเหล่ปีละ 4 ครั้ง (ยึดตามระยะเวลา

               ของปีงบประมาณ คือ เริ่มเดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2557) โดยมีระยะเวลาห่างกันทุก 3 เดือน
               และกำหนดสถานที่จัดประชุม ณ ห้องประชุมธรรมาภิบาลองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน           ท้องถิ่นใจดี
               การประชุมในแต่ละครั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปนได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการดำเนิน
               โครงการออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เป้าหมายในเชิงปริมาณ (กลุ่มเป้าหมายเชิงปริมาณกำหนดไว้

               จำนวน 720 คน) และเป้าหมายในเชิงคุณภาพ

                     บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนอกจากการจัดประชุมเวทีสาธารณะแล้ว ยังถือเป็น
               หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบดำเนินการในการจัดให้บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนภายในเขตพื้นที่

               ตำบลหนองแปนด้วย ดังนั้น ผลจากมติที่ประชุมเวทีสาธารณะจึงถือเป็นหน้าที่ขององค์การบริหาร
               ส่วนตำบลหนองแปนที่ต้องนำมติของที่ประชุมสาธารณะนั้นไปวางแผนการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง

               ตามมติที่ประชุมสาธารณะ

                     บทบาทของประชาชนและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ปัจจัยที่ทำให้
               โครงการประชุมเวทีสาธารณะประสบความสำเร็จนอกจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน คือ

               บทบาทของประชาชนภายในพื้นที่ในการให้ความสำคัญกับการแสดงออกซึ่งสิทธิของประชาชนผ่าน
               ข้อเรียกร้องที่ตนหรือข้อเรียกร้องชุมชน ดังนั้น บทบาทของประชาชนภายในตำบลหนองแปนจึงถือ
               เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดในการจัดประชุมเวทีสาธารณะ เพราะหากขาดประชาชนไปเวทีที่จัด
               ประชุมก็จะกลายเป็นเวทีการประชุมของผู้นำไป ซึ่งอาจนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่แตกต่างจาก

               การดำเนินงานที่มีการตรวจสอบจากภาคประชาชน อันแสดงถึงความโปร่งใสตรวจสอบได้สำหรับ        การส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยและการสร้างธรรมาภิบาล
               การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน

                     นอกจากบทบาทของประชาชนที่ต้องให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมประชุมเวทีสาธารณะแล้ว

               หากขาดบุคคลกลุ่ม “ผู้นำชุมชน” อันได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ย่อมทำให้การจัดประชุมเวทีสาธารณะ
               ประสบปัญหาได้ เนื่องจากบุคคลกลุ่มดังกล่าวถือเป็นบุคคลสำคัญในการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์

               การจัดประชุมเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่ตำบลหนองแปนทั้ง
               16 หมู่บ้านนั่นเอง

                     ผลที่เกิดขึ้นของโครงการประชุมเวทีสาธารณะ “เวทีโสเหล่” แบ่งออกเป็น 2 ประการ โดยวัด

               จากผลสำเร็จในเชิงนามธรรม และผลสำเร็จในเชิงรูปธรรมที่มีหลักฐานในเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงความ
               สำเร็จของโครงการ ดังนี้







                                                                             สถาบันพระปกเกล้า  21
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231