Page 148 - kpi17721
P. 148
บทเรียนจากการดำเนินโครงการ
1.
สภาพปัญหาและสถานการณ์ก่อนเริ่มดำเนินการ
หลังวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2540 ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน
ส่วนหนึ่ง ได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อร่วมฟื้นฟูสวัสดิการแบบธรรมชาติ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ ท้องถิ่นใจดี
เอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน โดยใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในลักษณะของ
การจัดสวัสดิการจากฐานทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น สวัสดิการจากฐานกลุ่มออมทรัพย์ วิสาหกิจ
ชุมชน ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานสวัสดิการชุมชนที่ประชาชนออมทรัพย์
ร่วมกันจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงของชุมชนฐานราก
รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสังคมในการพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
ในปี พ.ศ. 2548 องค์กรชุมชนต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับสวัสดิการชุมชนได้ยกระดับเป็น
“กองทุนสวัสดิการ” โดยริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการในระดับตำบล ซึ่งมีการสมทบงบประมาณจาก
สามฝ่าย คือ จากการออมสมทบของสมาชิกในชุมชน การสมทบจากรัฐบาลกลาง และการสมทบจาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง จึงได้ร่วมส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน
ตำบลพลูตาหลวง ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี และ
หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ โดยส่งเสริมให้ประชาชนภายในชุมชนจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ
ชุมชนตำบลพลูตาหลวง ภายใต้การบริหารจัดการโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นสำคัญ พร้อมกับสนับสนุน
งบประมาณแก่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพลูตาหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา
2.
วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
1. เพื่อเป็นการสะสมเงินออมทรัพย์ของสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพลูตาหลวง
2. เพื่อพัฒนาคนในตำบลพลูตาหลวงให้เกิดความรัก ความสามัคคีและมีความรับผิดชอบ
ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3. เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตให้แก่สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล
พลูตาหลวงให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปของสิ่งของ น้ำใจและเงินทุนที่จะช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกันตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บป่วย ตาย
4. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทุกคนได้มีกำลังใจที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและ
ชุมชน
5. เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่สมาชิกที่ทุกข์ยากและเดือดร้อน
สถาบันพระปกเกล้า 1 1