Page 105 - kpi17721
P. 105
3. ความร่วมมือภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกันด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยกลุ่มแกนนำ
หลักสำคัญและกลุ่มสนับสนุน ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มชมรมผู้สูง
อายุ 7 ชมรม ผู้บริหารเทศบาล ฝ่ายสภาเทศบาล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลฯ
ท้องถิ่นใจดี วัด โรงเรียน โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย นักวิชาการสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข อผส. กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ที่ร่วมกันผลักดันให้โครงการผู้สูงอายุระยะยาวประสบความสำเร็จเป็นอย่างรูปธรรม
โดยเฉพาะความต่อเนื่องของการผลักดันโครงการโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาล
ตำบลหาดเสี้ยวที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยงานรัฐ และเอกชนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของผู้สูงอายุ ภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน ที่ต้องการให้มีสุขภาพกายที่แข็งแรงช่วยเหลือตนเองได้
มากที่สุดและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยน้อย มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิตที่เหลือ
อย่างมีคุณค่าต่อรุ่นลูกหลาน มีความเครียดน้อยลงสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองแบบมีความหวังและ
ทั้งก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างกันทั้งในชุมชนและภายนอกชุมชน เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้สูงอายุกับคนทุกวัยในชุมชนและสังคม การให้กำลังใจระหว่างสมาชิกด้วยกันว่าจะไม่ทอดทิ้งกัน
และดึงสมาชิกผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ลำพัง หรือมีอาการซึมเศร้า แยกตัวจากสังคมให้เข้าสู่สังคมแบบ
คนปกติทั่วไป หน่วยงานทั้งสองกลุ่มได้ร่วมกันดำเนินงานอย่างบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ
จนกระทั่งปัจจุบัน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
ในขณะเดียวกัน การได้รับการสนับสนุนจากวัดที่ได้นำหลักธรรมและคำสอน หลักการ
ปฏิบัติธรรม การเตรียมความพร้อมเมื่อยามเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเข้ามาช่วยเยียวยาและบำบัด
ความทุกข์ให้กับผู้สูงอายุ กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้สูงอายุที่ร่วมกันดำเนินงานกับเครือข่ายต่างๆ
ได้นำมาซึ่งสุขภาพกายและสุขใจที่มั่นคงให้แก่ผู้สูงอายุ และยังสร้างความสุขและพึงพอใจสามารถ
ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม ช่วยเหลือตนเองได้ตามอัตภาพ และดำรงไว้ซึ่งการมีคุณค่าใน
ตนเอง การสนับสนุนดังกล่าวเป็นให้ผู้สูงอายุมีที่พึ่งพาทางด้านจิตใจ กล่าวคือ “ใช้วัดเป็นสถานที่ดูแล
ชีวิตระยะยาว” และสอดแทรกคำสอนวิธีปฏิบัติให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันให้มาก
ที่สุด
4. การมีนวัตกรรมสร้างสรรค์ และการใช้วิธีการสื่อสารที่เข้าใจ เข้าถึงแก่ผู้สูงอายุ ประการ
แรก คือ ความน่าสนใจในเรื่องการประดิษฐ์และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญท้องถิ่น อุปกรณ์ทอผ้าพื้นบ้านมา
เป็นเครื่องมือที่ช่วยการออกกำลังกายให้แก่ผู้สูงอายุ ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุ
มีพัฒนการทางด้านร่างกายควบคู่ไปกับการรักษาอัตลักษณ์การทอผ้าพื้นเมืองได้อย่างสร้างสรรค์ โดย
อุปกรณ์แต่ละชิ้นมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันไป ทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงประโยชน์จากเครื่องมือ
เครื่องใช้ในการทอผ้าไปพร้อมๆ กับการสร้างสุขภาพ นับได้ว่าเป็นมูลค่าทางกายและใจให้แก่ผู้สูงอายุ
ได้เป็นอย่างดี เป็นความฉลาดทางแนวคิดที่นำมาใช้ได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น ประการที่สอง เทศบาลตำบลหาดเสี้ยวยังมีความโดดเด่นด้านวิธีการเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
ผ่านการใช้วิธี “เอาแฮง” กัน อันหมายความว่า ช่วยกัน ขอแรงกัน เป็นวีธีการประชาสัมพันธ์และ
8 สถาบันพระปกเกล้า