Page 104 - kpi17721
P. 104
2. การริเริ่มและการผลักดันของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและฝ่ายบริหารของ
7
เทศบาลตำบลหาดเสี้ยวที่มีความต่อเนื่อง กล่าวได้ว่ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาล
และผู้บริหารงานเทศบาลที่มองเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ เพราะกลุ่ม
ดังกล่าวจะเป็นพลังสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของเทศบาล ความต่อเนื่องดังกล่าวเกิดขึ้น
จากการจัดงานกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและประเพณีเป็นประจำทุกปี เกือบทุกเดือน ซึ่งกิจกรรม ท้องถิ่นใจดี
เหล่านี้เองเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมและทำให้เกิดความต่อเนื่องโดยนัยสำคัญ คือ
การสร้างจุดแข็งของอัตลักษณ์ของผู้สูงอายุที่ยังสามารถทำงานสังคมให้แก่ตำบลได้อย่างมีคุณภาพ
มีปฏิสัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีชีวิตชีวา ไม่ห่อเหี่ยวและไร้ประโยชน์ต่อสังคมตำบล
หาดเสี้ยว สร้างประโยชน์ทางด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรม และประเพณีให้แก่ตำบลหาดเสี้ยวมากกว่า
ที่จะลดทอนคุณค่าของตนเอง
ที่สำคัญ คือ การสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้แก่กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ 7 ชมรม
ซึ่งเป็นกลุ่มพลังหลักในการส่งต่อข้อมูลข่าวสารสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมและการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของผู้สูงอายุไปยังสมาชิกท่านอื่น การได้รับข้อมูลดังกล่าวเป็นการย้ำให้เห็นถึงความมี
ประสิทธิภาพการทำงานและการได้รับการยอมรับจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า
เป็นการสร้างให้เกิดพลังที่ช่วยกระตุ้นให้กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ประสงค์ที่จะทำงานและขับเคลื่อน
โครงการอื่นๆ เพื่อตำบลหาดเสี้ยวอย่างเข้มแข็ง เป็นการสร้างเพื่อสร้างต้นแบบด้านคุณค่าของ
ทรัพยากรมนุษย์และมีอิทธิพลต่อคนรุ่นลูกรุ่นหลานในการทำงานเพื่อตำบลหาดเสี้ยว เพราะในทาง
ปฏิบัติกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้เป็นแกนนำสำคัญที่ทำให้โครงการอื่นๆ ของตำบลหาดเสี้ยวประสบ
ความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงานภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีทั้งสองคน คือ
ว่าที่ รต.วีรยุทธ์ สุดเสมอใจ (ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2551 – 28 มกราคม 2554) และนาง การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม
รุ่งอรุณ คำโมง (ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 – ปัจจุบัน) ที่ได้สานต่อนโยบายการบริหาร
งานที่สอดคล้องกัน รวมทั้งการทำงานที่ตอบโจทย์ผู้บริหารภายใต้การขับเคลื่อนของกองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อมที่เป็นศูนย์กลางให้โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จจนกลายเป็นต้นแบบด้าน
การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของประเทศ เพราะการร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นว่า ประชาชนในพื้นที่
โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังสามารถพัฒนาให้มีความเข้มแข็งและมีคุณค่าส่งต่อไปยังกลุ่มคนอื่นๆ ให้เข้ามา
มีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบลหาดเสี้ยวและเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของชุมชนเข้มแข็งที่ไม่ไร้ประโยชน์
ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
7 ความสำเร็จของโครงการดูแลสุขภาพระยะยาวของผู้สูงอายุตำบลหาดเสี้ยวสะท้อนให้เห็นได้จากการที่
เทศบาลตำบลหาดเสี้ยวได้รับการประเมินผลโครงการที่ค่อนข้างสูงทั้งในส่วนการประเมินขั้นต้น (ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐานและ
ขั้นพัฒนา) คะแนนความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการและคะแนนจากการสนทนากลุ่ม ซึ่งรวมเป็นร้อยละ 59.71
เป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มผู้สมัครเข้ารับรางวัลพระปกเกล้าประจำปี 2557 ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดความเป็นเลิศในการบริหารงาน
ในด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมาตรฐานของการพิจารณารางวัลพระปกเกล้าต้องมีผลคะแนน
รวมในการเข้ารับรางวัลตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป
สถาบันพระปกเกล้า