Page 88 - kpi17034
P. 88
การสร้างสำนึกพลเมือง
ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา
ขั้นที่ 2 การเลือกปัญหา
ขั้นที่ 3 การลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 4 การพัฒนาและจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย
ขั้นที่ 5 การนำเสนอนโยบายสาธารณะ
ขั้นที่ 6 การสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา
เป็นขั้นที่มุ่งให้นักเรียนและชุมชนเสนอปัญหาโดยร่วมกันระบุปัญหา
เช่น ปัญหาในชุมชนหรือในโรงเรียน โดยอาจใช้การแบ่งกลุ่มย่อย 3-5 คน
เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง โดยอาจให้แต่ละคน
เสนอปัญหามาคนละ 3 ปัญหา จากนั้นพูดคุยกันภายในกลุ่มเพื่อนำไปสู่
ขั้นตอนที่ 2 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 5)
ขั้นที่ 2 การเลือกปัญหา
เป็นขั้นของการคัดเลือกปัญหาที่มีความสำคัญที่สุดให้เหลือเพียง
1 ปัญหา
ในขั้นนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงกระบวนการฉันทมติ (Consensus)
ซึ่งจะไม่ใช้การยกมือโหวต แต่จะใช้การพูดคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในการคัดเลือก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 6)
ขั้นที่ 3 การลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล
เมื่อผู้เรียนคัดเลือกปัญหาที่สำคัญที่สุดได้แล้ว 1 ปัญหา ขั้นต่อไป
คือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยทบทวนว่าปัญหานั้นมีแหล่งข้อมูลใด
ที่สามารถศึกษาค้นคว้า เพิ่มเติมโดยนักเรียนและชุมชนอาจแบ่งกลุ่มในการ
ลงพื้นที่ และนำแบบฟอร์มที่มีอยู่ในคู่มือมาปรับใช้ในการลงพื้นที่ (อ่าน
รายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 7)