Page 50 - kpi17034
P. 50
การสร้างสำนึกพลเมือง
จึงจะเห็นได้ว่า การเลือกตั้งเป็นเพียงมิติเดียวของประชาธิปไตย
เท่านั้น ซึ่งมีข้อสังเกตว่าสังคมให้ความสำคัญกับความเป็นประชาธิปไตย
ในมิติที่ 1 และ 2 ค่อนข้างมาก ดังปรากฎว่าเมื่อพูดถึงประชาธิปไตย
หลายฝ่ายมักนึกถึงการเลือกตั้ง และให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งอย่างมาก
ทั้งที่แท้จริงแล้วหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอำนาจอธิปไตยเป็น
ของปวงชน แม้ประชาชนจะแบ่งอำนาจส่วนหนึ่งให้แก่ผู้แทนผ่านการเลือกตั้ง
แต่อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประชาชนไม่ได้หายไป ประชาชน
ยังคงสามารถใช้อำนาจที่มีอยู่ติดตามตรวจสอบความเป็นไปในการบริหาร
บ้านเมือง รวมไปถึงสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาในฐานะของ
“พลเมือง” ที่ไม่ใช่เพียงผู้อาศัย แต่เป็นเจ้าของประเทศตัวจริงเสียงจริง
จะเห็นได้ว่ามิติเชิงโครงสร้างและกระบวนการต่างขับเคลื่อนโดยคน
ทั้งสิ้น ดังนั้น ประชาธิปไตยในมิติที่ 3 จึงถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด
หากปราศจากค่านิยมที่ดีของความเป็นประชาธิปไตยในมิตินี้ ความพยายาม
ที่จะสร้างประชาธิปไตยให้มีเต็มใบหรือเข้มแข็งย่อมเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างวิถี
ประชาธิปไตยมิติที่ 3 นี้มากขึ้น ดังปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 และ 2550 ซึ่งต่างให้การรับรองสิทธิ
เสรีภาพและการแสดงออกตามวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองไว้หลาย
ประการเช่นในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 กำหนดไว้ในหมวดที่ 7 ให้
ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงได้ ผ่านการลง
ประชามติ การเสนอร่างกฎหมาย รวมไปถึงการถอดถอนข้าราชการและ
นักการเมืองที่ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ นอกจากนั้น ยังระบุให้ประชาชน
มีสิทธิเสรีภาพหลายประการในหมวดที่ 3 ของรัฐธรรมนูญ อีกด้วย เช่น
สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการรวมตัวกันโดยสงบปราศจากอาวุธ
และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2558 ก็ให้ความสำคัญแก่เรื่องนี้อย่างมาก เป็นต้น
และการรวมกลุ่มนั้นไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องทาง
1