Page 224 - kpi17034
P. 224
การสร้างสำนึกพลเมือง
การประเมินประเภทที่สอง เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนา เน้นการ
ทบทวนประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงการเป็นหลัก เพื่อ
มุ่งเน้นพัฒนา ปรับปรุง ทั้งตัวนักเรียนและโครงการให้ดียิ่งขึ้น
การประเมินทั้งสองประเภทนี้ สามารถกระทำได้ทั้งระยะสั้น ระยะ
กลาง และระยะยาว กล่าวคือสามารถกระทำได้ทุกระยะของโครงการ
ไม่จำเป็นต้องรอให้โครงการจบแล้วจึงจะประเมินแต่สามารถทำได้แม้ว่าจะ
ดำเนินโครงการอยู่ โดยวิธีการสามารถทำได้หลากหลาย เช่น ประเมิน
ตนเอง โดยการคิดทบทวนว่าตลอดระยะเวลาที่ทำโครงการ ตนเองได้เรียนรู้
อะไรบ้าง มีสิ่งใดที่ทำได้ดีแล้ว พอใจแล้ว หรือมีสิ่งใดบ้างที่ยังทำได้ไม่ดีและ
ต้องการปรับปรุงแก้ไข การประเมินเป็นกลุ่ม อาจใช้การพูดคุยกันใน
ประเด็นปลายเปิด หรือพูดคุยในประเด็นที่กำหนดไว้ การประเมินโดยใช้
แบบสอบถาม ซึ่งมีข้อดีคือสะดวก รวดเร็ว และมีข้อจำกัดในเรื่องของ
ประเด็นที่ไม่หลากหลาย
รูปแบบการประเมินอื่นๆที่นิยมทำกัน อาทิ กระบวนการ PDCA ซึ่ง
P= Plan คือการวางแผนการทำงาน Do= Do คือการลงมือทำตามแผน
C = Check คือการทบทวนว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่และ A=Act คือการ
ลงมือทำเพื่อการพัฒนาปรับปรุงอีกครั้งเพื่อประสิทธิภาพที่มากยิ่งขึ้น
กระบวนการนี้มีความคล้ายคลึงกับการประเมิน After Action Review :
AAR ซึ่งสามารถดำเนินการได้ไม่ว่าการปฏิบัตินั้นๆ จะประสบผลสำเร็จหรือ
ล้มเหลว
AAR ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อค้นหาคนที่ทำผิดพลาดไม่ใช่การกล่าวโทษ
ใครทั้งสิ้นแต่เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานเพื่อ
แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก แต่มีเป้าหมายที่จะ
เพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัตินั้นๆ เพื่อให้สามารถทำได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
1