Page 81 - kpi13397
P. 81
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การลบล้างคำสั่งทางปกครองโดยองค์กรฝ่ายปกครองอาจเกิดขึ้นได้ในสอง
ลักษณะใหญ่ๆ คือ ในกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง
และนอกกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครอง โดยการ
พิจารณาลบล้างคำสั่งทางปกครองนอกกระบวนพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่ง
ทางปกครองนั้น องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอาจแสดงเจตนายกเลิกคำสั่ง
ทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ เพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย ซึ่งเงื่อนไขในการลบล้างคำสั่งทางปกครอง หรือทำให้คำสั่งทาง
ปกครองดังกล่าวสิ้นผลลงมีความแตกต่างกัน การลบล้างคำสั่งทางปกครองที่
จะกล่าวต่อไปในข้อเขียนฉบับนี้จะจำกัดเฉพาะการลบล้างคำสั่งทางปกครอง
ขององค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทั้งนี้เฉพาะการลบล้างนอกกระบวน
พิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองในชั้นเจ้าหน้าที่เท่านั้น การลบล้าง
คำสั่งทางปกครองในกระบวนพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งในชั้นเจ้าหน้าที่เป็นอีก
เรื่องหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงและอธิบายในบริบทของการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่ง
ทางปกครอง
๒. ข้อพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับการลบล้าง
คำสั่งทางปกครอง
ในการทำความเข้าใจการลบล้างคำสั่งทางปกครองขององค์กรเจ้าหน้าที่
ฝ่ายปกครองนอกกระบวนพิจารณาอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองนั้น
จะต้องพิเคราะห์ในเบื้องต้นเสียก่อนว่าคำสั่งทางปกครองที่องค์กรเจ้าหน้าที่
ฝ่ายปกครองจะลบล้างนั้นเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายหรือคำสั่ง
ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำสั่งทางปกครองดังกล่าวนั้น
พิจารณาจากแง่มุมของบุคคลที่ตกอยู่ภายใต้บังคับแล้วเป็นคำสั่งทางปกครอง
ที่ให้ประโยชน์ หรือเป็นคำสั่งทางปกครองที่สร้างภาระ
ในการพิเคราะห์ว่าคำสั่งทางปกครองคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งเป็นคำสั่งที่ชอบ
ด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากเวลาที่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง