Page 42 - kpi13397
P. 42
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 3
สถานการณ์ในบางกรณีที่มีความละเอียดอ่อน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครองจึงบัญญัติให้เครื่องมือแก่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
เพื่อใช้เสริมคำสั่งทางปกครองและทำให้คำสั่งทางปกครองมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
เครื่องมือดังกล่าวนี้เรียกว่า “ข้อกำหนดประกอบในคำสั่งทางปกครอง”
ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น ๕ ประเภทด้วยกัน คือ
๑) เงื่อนเวลาในคำสั่งทางปกครอง ซึ่งแยกออกเป็นเงื่อน
เวลาเริ่มต้นและเงื่อนเวลาสิ้นสุด เงื่อนเวลาในคำสั่งทางปกครองเป็นการ
กำหนดของเจ้าหน้าที่ในคำสั่งทางปกครองให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผล
หรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
๒) เงื่อนไขในคำสั่งทางปกครอง ซึ่งมีทั้งเงื่อนไขบังคับก่อน
และเงื่อนไขบังคับหลัง เงื่อนไขในคำสั่งทางปกครองเป็นการกำหนดของ
เจ้าหน้าที่ในคำสั่งทางปกครองนั้นเองให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือ
ภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน
๓) ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครอง เป็นกรณีที่
เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งทางปกครองไปแล้ว แต่ในคำสั่งทางปกครองนั้นเอง
เจ้าหน้าที่สงวนไว้ซึ่งสิทธิในการจะยกเลิกคำสั่งดังกล่าวในอนาคต
๔) ข้อเรียกร้องในคำสั่งทางปกครอง เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่
กำหนดให้ผู้รับคำสั่งทางปกครองที่ได้รับประโยชน์กระทำหรืองดเว้นกระทำ
หรือยอมรับภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการ กรณีเช่นนี้เป็นกรณี
ที่คำสั่งทางปกครองมีผลแล้ว และผู้รับคำสั่งได้รับประโยชน์จากผลของคำสั่ง
ทางปกครองนั้นแล้ว แต่ผู้นั้นมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องในคำสั่ง
ทางปกครองนั้น มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับให้บุคคลนั้นปฏิบัติ
ตามข้อเรียกร้องหรือยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์นั้นได้
๕) ข้อสงวนสิทธิในการจัดให้มีข้อเรียกร้อง กรณีนี้เป็น
กรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่แน่ใจว่าในขณะออกคำสั่งทางปกครองนั้น ตนสมควรจะ