Page 99 - kpi11890
P. 99
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
1
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำนาและทำไร่ นอกจากนั้นเป็นการประกอบอาชีพด้านการ
ค้าปลีก ค้าส่ง การศึกษาและการบริหารราชการแผ่นดิน ตามลำดับ ในขณะที่ด้าน
การสาธารณสุข จังหวัดอำนาจเจริญมีโรงพยาบาลของรัฐครอบคลุมทุกอำเภอ ส่วน
อัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์เมื่อเทียบกับระดับประเทศพบว่า ยังขาดแคลน
ในอัตราส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 8,020 คนและพยาบาล 1 คนต่อประชากร
925 คน ตรงกันข้ามกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชน ที่มี
ประชาชนผู้มีสิทธิครอบคลุมถึงร้อยละ 99.21 ซึ่งถือว่าเกินกว่าเกณฑ์เป้าหมาย ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
นอกจากนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัดอำนาจเจริญ (SWOT
Analysis) จากการทำประชาคมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ พบว่า
จุดแข็ง (Strength) ที่สำคัญ คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งการแสดง
ความคิดเห็นและสนับสนุนให้ตัวแทนชุมชนเข้าไปเป็นตัวแทนในการบริหารงาน
ส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดความโปร่งใส ในขณะที่ด้านการศึกษามี
สถานศึกษาเพิ่มมากขึ้นเพื่อขยายการศึกษาให้กับเยาวชนและมีองค์กรชุมชน
เครือข่ายที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสภาพพื้นที่มีขนาดเล็กทำให้
สามารถพัฒนาได้อย่างทั่วถึง
ด้านจุดอ่อน (Weakness) พบประเด็นปัญหาทางการเมืองที่มีการซื้อสิทธิ
ขายเสียงและเป็นการเมืองระบบอุปถัมภ์ อีกทั้งหน่วยงานเขตพื้นที่การศึกษายังไม่
ยอมรับการถ่ายโอนไปสู่การบริหารภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้
ทรัพยากรธรรมชาติยังไม่เอื้ออำนวยให้สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี รวม
ไปถึงยังไม่มีงบประมาณเพียงพอต่อการพัฒนา ในขณะที่ปัจจัยด้านโอกาส
(Opportunity) นั้น พบว่า องค์กรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
การเมืองการปกครอง และได้มีการสนับสนุนให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบกับองค์กรภาครัฐและเอกชนมีความร่วมมือในการช่วย
แก้ปัญหาทั้งในด้านทุนการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ส่วนด้านภาวะ
คุกคาม (Threat) นั้น พบว่า การเมืองระดับชาติยังคงมีอิทธิพลในการครอบงำ